อีก 9 ปี จะเกษียณฯ เตรียมเรื่องเงินอย่างไรดี

money03วันนี้ดีใจ ที่ได้มีโอกาสไปพบกับอาจารย์ที่เรารักและเคารพ อาจารย์ท่านกำลังมีโครงการว่าจะนำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุน และอยากลดภาษีไปพร้อมๆกัน ก็เลยนำสิ่งที่รู้อันน้อยนิดไปกราบเรียนอาจารย์เพื่อได้พิจารณา

“ครูว่าจะเอาไปลง LTF RMF ดีป่าว”
ผมเลยเรียนอาจารย์ไปว่า LTF เป็นนโยบายที่สนับสนุนให้ผู้ต้องเสียภาษีได้ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ซึ่งมีเจตนาไม่ให้ตลาดมีความผันผวนจาการซื้อขายของต่างชาติ (รวม “เจ้ามือผู้ลาก ผู้ทุบ” ด้วยไหมเนี่ย)

และถ้าคิดจะลงทุน ผมก็บอกว่าก็ดีครับอาจารย์ แต่… มีข่าวออกมาว่า อาจมีการยกเลิกสิทธิ์ในการลดภาษีของกองทุนนี้ในปี 2559 ซึ่งมี บลจ.หลายแห่งออกมาแสดงความเห็นว่า เป็นการปิดโอกาสที่จะเพิ่มผู้ที่จะออมผ่านกองทุนรวม และจุดเริ่มต้นเรียนรู้การลงทุนอีกด้วย

“ว้าาาา งั้นไม่เอาละ เปลี่ยนแผนๆ แล้วจะเอาไปลงทุนอะไรดีหละ”

ผมก็ตอบไปว่า ถ้าไม่เน้นเรื่องการลดภาษีได้ด้วย ก็มีกองทุนรวมอื่นๆ เช่น กองทุนรวมหุ้น กองทุนตราสารตลาดเงิน กองทุนรวมน้ำมัน กองทุนรวมทองคำ ซึ่งก็มีทั้งแบบที่มีปันผล และไม่มีปันผล ซื้อง่ายได้ที่ธนาคารต่างๆ
money08
อีกอย่างนึงคือ ซื้อสลากออมสิน ถ้าซื้อจำนวนเยอะๆ ก็มี “โอกาส” ถูกรางวัล และถ้าถือไว้จนครบอายุ มูลค่าของสลากออมสินก็จะเพิ่มขึ้น ถ้ามองก็คือดอกเบี้ย แต่มีพี่ที่อยู่ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เค้ามาตั้งบูธในงานมหกรรมการเงินที่เซ็นทรัลพิษณุโลก เค้าบอกว่า ถ้าไม่ใช่คนชอบเสี่ยงโชค วิธีนี้ไม่แนะนำ เพราะในระยะเวลา 3 ปี การลงทุนประเภทอื่นได้ผลตอบแทนดีกว่า (ต้องย้ำนะครับ ว่าต้องเป็นคนชอบลุ้นโชค เพราะถ้าไม่ลุ้น ปล่อยๆไว้ ถูกรางวัลก็ดี ถ้าไม่ถูกก็ไม่เป็นไร การลงทุนด้วยสิ่งนี้ ไม่แนะนำ เพราะมีสภาพคล่องน้อยมาก)

ระดับต่อไป คือการลงทุนในหุ้นด้วยตนเอง อันนี้ต้องมีเวลาพอสมควร แต่อาจารย์บอกว่า ไม่เอา มันเครียด อยากมีประเภทมีคนดูแลให้เหมือนกองทุนดีกว่า เลยปัดวิธีนี้ไป (จริงๆแล้ว ซื้อกองทุนก็ต้องดูข้อมูลเหมือนกันนะครับอาจารย์) จริงๆแล้ว บางท่านที่มีประสบการณื เค้าเข้าไปซื้อหุ้นด้วยตนเอง สะสมไปเรื่อยๆ ผลตอบแทนที่ได้ก็มากกว่าเงินที่ต้องเสียภาษีไปอีก แต่ก็ไม่ได้ทุกคนนะครับ บอกแล้วว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง”

วิธีต่อไป “เอาไปปล่อยกู้” อาจารย์รีบส่ายหน้า… ไม่เอา บาป และเสี่ยงมาก ไม่อยากทำธุรกิจสร้างบาป ตัดทิ้งๆ

money06

สุดท้าย นั่งคิดอยู่สักพัก ก็นึกออก “ประกันชีวิต”

อาจารย์บอกว่า ซื้อไว้แล้ว 2 กรมธรรม์ ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แสดงว่า เป็นประกันที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ผมลองค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะหาทางเลือกให้กับอาจารย์วัย 51 ได้อย่างไรบ้าง ในที่สุด ก็มีข้อมูลออกมา

…..เหลือตัวเลือกอีกอย่างหนึ่งคือ “ประกันชีวิตแบบบำนาญ”

อาจารย์เริ่มส่งเบี้ยประกันประมาณ 80,535 บาทต่อปี เพราะได้เลือกทุนประกัน 390,000 บาท ส่งไปจนถึงอายุ 59 ปี นั่นหมายถึงอาจารย์ส่งเบี้ยประกันที่เจียดมาจากเงินประจำตำแหน่ง 9 ปี เป็นเงินรวม 724,815 บาท และในปีที่อายุ 60 ปี ถึง 85 ปี (รวมเป็น 25 ปี) จะได้คืนร้อยละ 10 ของทุนประกัน นั่นคือ ปีละ 39,000 บาท จำนวน 25 ปี ก็เป็นเงิน 975,000 บาท เมื่อลบเบี้ยประกันที่ชำระไป ก็เหลือผลต่าง 250,185 บาท ยังไม่รวมสิทธิทางภาษีที่ได้ลดอีก 9 ปี (เงินส่วนที่ได้ลดจำนวน 9 ปี เอาไปซื้อกองทุนรวมหุ้นได้เลยนะครับเนี่ย)

อันนี้ก็เป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งที่จะลงทุนจากเงิน 100,000 บาท ที่เจียดมาจากเงินประจำตำแหน่งนะครับ โดยเฉลี่ยผู้มีอายุในช่วงนี้ก็มีเงินประจำตำแหน่ง คศ.3 หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กัน อาจมองเป็นการลงทุนและลดภาษีไปในตัวครับ แล้วเงินเดือนที่ยังได้รับหลังเกษียณอายุราชการ รวมกับเงินบำนาญที่ได้จากประกันชีวิตตัวนี้ น่าจะได้มากพอสมควรอยู่นะครับ (เห็นตอนนี้ กำลังแสดงความเห็นกันเรื่องผลตอบแทนระหว่างออก กับ ไม่ออกจาก กบข. เพราะเงินที่ได้มันแตกต่างกัน ถ้าได้บำนาญจากประกันตัวนี้ไปช่วยอยู่ คงสบายใจขึ้นมากครับ)
money11

ลองเลือกดูนะครับ เพราะการวางแผนทางการเงินหลังเกษียณอายุราชการแล้ว เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน เพราะการวางแผนทางการเงิน ใครเริ่มก่อนก็มั่งคั่งก่อนครับ ควรจะเริ่มต้นตั้งแต่อายุน้อยๆที่รับความเสี่ยงได้มากๆ เพราะมีนักวางแผนทางการเงินกล่าวไว้ว่า เราควรวางแผนทางการเงินให้เงินงอกเงยตั้งแต่ตอนไหน คำตอบคือ “ควรเริ่มตั้งแต่เมื่อวานนี้”

money13gif
มีข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สอบถามพูดคุยกัน สามารถพูดคุยกันได้ที่ www.facebook.com/money2teacher หรือที่ http://www.seal2thai.org/board/index.php?board=5.0 ครับ

เกรียนออมสิน เกรียนคุณครู รู้วางแผนเพื่อความมั่งคั่ง

Comments

comments