ภาพใหญ่เศรษฐกิจครึ่งปีหลังกำลังเปลี่ยนไป

money07ภาพใหญ่เศรษฐกิจครึ่งปีหลังกำลังเปลี่ยนไป จากเดิมที่เชื่อว่าจะดีกว่าครึ่งปีแรกกลับพลิกมาเป็นหดตัว จนนักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักประเมินว่า มีโอกาสที่อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้จะตํ่ากว่า 3 % ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว “ฐานเศรษฐกิจ” จัดอับดับความเสี่ยงที่เป็นภัยคุกคามเศรษฐกิจครึ่งปีหลังไว้ดังนี้

1. ภัยแล้งมาแรง :ภัยแล้ง พุ่งขึ้นมาเป็นความเสี่ยงอันดับ 1 ต่อเศรษฐกิจไทย หลังปริมาณนํ้า 4 เขื่อนหลัก (ภูมิพล-สิริกิติ์-แควน้อย-ป่าสัก) ลดลงต่อเนื่อง และฝนทิ้งช่วงยาวนานกว่าปกติ จนก่อให้เกิดกระแสตื่นตระหนกว่าจะไม่มีนํ้าใช้ กระทั่งคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ให้ลดปล่อยนํ้าจาก 4 เขื่อนหลัก และมุ่งเน้น เพื่อการบริโภค และรักษาสภาพแวดล้อม โดยปริมาณนํ้า 4 เขื่อนหลัก (ณ วันที่ 15 ก.ค.) เหลือ 546 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) กรณีเลวร้ายสุดหากไม่มีฝนตกเลยนํ้าจะเหลือไม่พอบริโภค แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมั่นใจว่า ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ทิ้งช่วงและไปตกในช่วงเดือนสิงหาคม ทั้งนี้พื้นที่ปลูกข้าวที่ราบลุ่มภาคกลาง 4. 9 ล้านไร่ มีพื้นที่เสี่ยงเสียหาย 1.48 ล้านไร่ ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาประเมินว่า ภัยแล้งจะฉุดตัวเลข ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หายไป 0.5-1% ไม่รวมผลจากภาวะตระหนกของคนเมืองว่าจะไม่มีนํ้ากินนํ้าใช้ทำให้ภัยแล้งเป็น ปัจจัยเสี่ยงน่ากลัวสุดๆเวลานี้

2. ส่งออกติดลบฉุดจีดีพี : ภาวะส่งออก ติดลบถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 2 ด้วยเหตุว่า ภาคส่งออก ครองสัดส่วนราว 80% ของจีดีพี เมื่ออัตราเติบโตถดถอยย่อมกระทบ การลงทุน การบริโภค การจ้างงาน และจีดีพีในที่สุด สัปดาห์ที่ผ่านมา อัทธ์พิศาลวานิชคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์การค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยประเมินว่า ส่งออกปีนี้ (2558) จะติดลบ

3.8% หรือมีมูลค่ารวม 218,896 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และหนักหน่วงสุดในรอบ 6 ปี สาเหตุหลักที่ฉุดภาคส่งออกไทยคือ เศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และภาวะชะงักงันของเศรษฐกิจจีน หนึ่งในคู่ค้าสำคัญของไทย (ราว 11% ของมูลค่าการค้าส่งออกรวม) อย่างไรก็ดีนอกจาก

ปัจจัยภายนอกแล้ว ภาคส่งออกของไทยยังมีปัญหาภายในจากฐานการผลิตผลิตสินค้าไม่เป็นที่ต้องการ ของตลาดโลก ซึ่งต้องใช้เวลาปรับตัวไม่น้อยกว่า
3 ปี

3. ใบเหลืองไอยูยู : การแจกใบเหลืองไทย ของสหภาพยุโรป (อียู) โดยกล่าวหาว่า ไทยไม่ให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(ไอยูยู) ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ถือเป็นความเสี่ยงอันดับ 3 ในสารบบความเสี่ยงครึ่งปีหลัง แม้ไทยส่งออกอาหารทะเลไปอียูราว 12% ของภาพรวมก็ตาม แต่การให้ใบเหลืองไทยกระทบภาพลักษณ์และผูกโยงต่อการส่งออกสินค้าประเภทอื่น ด้วย ที่สำคัญหากไม่แก้ไขตามที่อียูชี้นิ้วมาไทยมีโอกาสถูกควํ่าบาตร

ประมาณว่าอุตสาหกรรมประมงมีมูลค่า 6 แสนล้านบาทต่อปี (อาหารทะเลแช่เยือกแข็งมีมูลค่า 1.6 แสนล้านบาทต่อปี ) ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมารัฐบาลเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยกำหนดให้เรือประมงทุกลำต้องจดทะเบียนและมีใบอนุญาต เรือ-คน-อุปกรณ์ครบ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน มาตรการดังกล่าวกดดันให้เรือประมงราว 4 หมื่นลำ(ข้อมูลกรมประมง ณ วันที่ 2 กรกฎาคม) ต้องขึ้นทะเบียน ซึ่งปรากฏว่า ณ วันที่ 15 กรกฎาคม มีเรือมาจดทะเบียนแล้ว 3.01 หมื่นลำ เหลือยังไม่แจ้งจดอีกราว 9.9 พันลำ โดยรัฐบาลได้ขยายเวลาเส้นตายจดทะเบียนเรือจากเดิมกำหนดวันที่ 30 มิถุนายน เป็น 31 กรกฎาคม หรือยืดเวลาออกมาอีก 1 เดือน ซึ่งสามารถคลี่คลายความตึงเครียดจากกลุ่มเรือประมงที่อ้างว่ายังไม่พร้อมจด ทะเบียนเรือพร้อมกับประกาศหยุดเรือออกหาปลานับแต่ถึงกำหนดเส้นตาย สถานการณ์ล่าสุดไทยส่งร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่ม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2558…ให้อียูพิจารณา ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และหวังว่าจะหลุดจากใบเหลืองไอยูยูของอียูเดือน มีนาคมปีหน้า

4. Tier 3 ของขวัญจากมิตร? : การประกาศ รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in person Report TIPs Report) 188 ประเทศทั่วโลก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ปีที่แล้วว่า ว่าประเทศถูกจัดอันดับในกลุ่มTier 3 หรือระดับตํ่าสุดของประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน ซึ่งส่งผลกระทบภาพลักษณ์ประเทศและผูกโยงไปถึงสินค้าไทยที่ส่งไปทั่วโลก นับเป็นความเสี่ยงในลำดับที่ 4 เนื่องจากรายงานดังกล่าว สหรัฐฯมิได้ประเมินโดยพิจารณาจากการใส่ใจกับคดี การดำเนินคดี จับกุม หรือปกป้องเหยื่อหากยังเจือด้วยนัยทางการเมืองที่มีต่อรัฐบาลด้วย และที่สำคัญหากสหรัฐฯไม่พอใจการแก้ปัญหา ไทยมีโอกาสถูกควํ่าบาตรเช่นเดียวกับกรณีใบเหลืองไอยูยู

5. เศรษฐกิจมังกรแผ่ว : ความเสี่ยง อันดับ 5 ต่อเศรษฐกิจไทยคือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักรายหนึ่งของไทยมีมูลค่าส่งออก ราว 11% เศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะชะลอตัวตั้งแต่ปี 2557 เศรษฐกิจเติบโตเหลือ 7.4% จากขยายตัวระดับ “สองหลัก” ต่อเนื่องมา 2 ทศวรรษ และปีนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 6.9% ตํ่ากว่าตัวเลขคาดการณ์ของทางการจีนเล็กน้อยภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเป็น ผลจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากปริมาณไปสู่คุณภาพทั้งประเมินว่าการ ชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะกระทบต่อการส่งออกไทยไปจีนโดยเฉพาะกลุ่มสินค้า อุปโภคและบริโภค

อย่างไรก็ดีภาวะฟองสบู่แตกในตลาดหุ้นจีนเมื่อปลายสัปดาห์ที่ ผ่านมา โดยดัชนีตลาดหุ้นหลักอย่างเซี่ยงไฮ้หายไปกว่า 150% นับแต่เริ่มมีแรงเทขายในวันที่ 12 มิถุนายน เมื่อทางการจีนเริ่มควบคุมมาร์จินโลน (สินเชื่อเพื่อการซื้อ-ขายหุ้น) ก่อนที่ทางการจีนจะงัดมาตรการชุดใหญ่ โดยเฉพาะห้ามผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (มีหุ้นมากกว่า 5%) และนักลงทุนต่างประเทศ ห้ามขายหุ้นออกเป็นระยะเวลา 6 เดือน แม้ตลาดหุ้นจีนกลับคืนสู่ภาวะปกติแต่นักสังเกตการณ์เชื่อว่ายังมีความไม่แน่ นอนเนื่องจากปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีนยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มองว่า ภาวะเปราะบางของเศรษฐกิจจีนตื่นเต้นกว่าคลื่นเศรษฐกิจจากวิกฤติหนี้กรีซเยอะ หากพิจารณาในแง่ผลที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทย

6. หนี้ครัวเรือนปัญหายังไม่เปลี่ยนแปลง :ภาวะ ครัวเรือนหนี้สูงกดดันเศรษฐกิจไทยมาตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน ตลอดปีที่ผ่านธุรกิจเกือบทุกประเภททั้งค้าปลีก รถยนต์ จนถึงสินค้าราคาสูงอย่างที่อยู่อาศัยระบุว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นต่อเนื่องคือปัจจัยฉุดกำลังซื้อของผู้บริโภค และความสามารถในการก่อหนี้ของผู้บริโภค (ผู้ขอกู้ซื้อบ้าน 30% ถูกปฏิเสธจากธนาคารด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือน) ทั้งนี้ ตัวเลขหนี้ครัวเรือน จากธนาคารแห่งประเทศไทย ล่าสุด ณ สิ้นไตรมาสแรก 10.57 ล้านล้านบาท (81% ของจีดีพี) เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้า 6.4% แม้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ว่า ระดับหนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 2 จะขยับขึ้นไปที่ระดับ 80.5-80.7% ต่อจีดีพี หรือเพิ่มขึ้น 6-6.2% ต่อจีดีพี และจะขึ้นไปแตะระดับ 81.5% ต่อจีดีพี ใน

สิ้นปีนี้และมีมุมมองค่อนข้างเป็นบวกว่าแม้ระดับหนี้ครัวเรือนอยู่ในอัตรา สูงทว่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงแต่ถึงกระนั้นหนี้ครัวเรือนยังถือเป็นความ เสี่ยงที่ไม่อาจละสายตาได้

7. ปัจจัยเสี่ยงจากเฟด : การแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการ ธนาคารประจำวุฒิสภา เมื่อ 3 ทุ่มของวันที่ 16 กรกฎาคมโดยประมาณ (เวลาประเทศไทย)ของ เจเน็ตเยลเลนประธาน ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยปลายปีเป็นเป้าสายตาของตลาดเงินทั่วโลก และถือเป็นความเสี่ยงอีกตัวต่อเศรษฐกิจไทย นักการเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาประเมินว่า ท้ายที่สุด เยลเลนอาจทบทวนการตัดสินใจ(ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่) หากเศรษฐกิจสหรัฐฯยังไม่แจ่มใสพอ แต่ถ้าเยลเลนตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย ผลต่อค่าเงินบาทอ่อนลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายยังยากประเมินสถานการณ์ ณ เวลานี้

8. วิกฤติหนี้กรีซ : ข่าวจากกรีซเริ่มแผ่วลงแล้ว เมื่อ อเล็กซิสซีปราสนายก รัฐมนตรีกรีซ ยอมตกลง ว่าจะออกกฎหมายปฏิรูปโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่ม โครงสร้างการจ่ายเงินบำนาญ รวมทั้งโอนทรัพย์สินมูลค่า 5 หมื่นล้านยูโรเข้ากองทุนที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อแลกกับเงินกู้ มูลค่า 8.6 หมื่นล้านยูโรระยะเวลา 3 ปี หลังการประชุมร่วมกับ 17 ผู้นำกลุ่มยูโรโซน
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา วิกฤติหนี้จากกรีซดูน่าตื่นเต้นเป็นข่าวใหญ่แต่มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับ กรีซที่ไม่ถึงครึ่งเปอร์เซ็นต์ข่าวใหญ่จากกรีซจึงถูกจัดให้อยู่อันดับท้าย สุดของตารางความเสี่ยง

ชุดปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาตามลำดับข้างต้นคือตัวแปรสำคัญที่บ่งชี้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังและภาพรวมทั้งปีจะดี–ทรง–หรือจะทรุดตัวลงไปมากกว่านี้!!!

ที่มา  kktraed

Comments

comments