การปรับปรุงโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา ล่าสุด!!!

วันนี้ พี่ตู่ วรวรรณ ได้โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการภาษีบุคคลธรรมดา อันใหม่ล่าสุด ที่จะมีผลบังคับใช้ปีภาษี 2560 (เริ่มปีหน้า ปีนี้ยังเหมือนเดิมก่อน) ข้อมูลมีดังนี้ครับ

ปรับโครงสร้างภาษี

ปรับโครงสร้างภาษี

การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
——————————————————-

19 เมษายน 2559 ครม.มีมติเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้

1. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

เปลี่ยนเป็นให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

2. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร

จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์โดยให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

ขยายเพิ่มให้ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าว แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้

3. ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้



 

(1) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท ข้อมูลโพสต์ใน earn.kruchamp.com

(2) ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท

(3) ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000 บาท/คน)

(4) ในกรณีที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท

(5) กองมรดกเดิมให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท

(6) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วน คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท

4. ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้

ส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลง
————————–
เงินได้สุทธิ 1-300,000* อัตราภาษี 5% ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 อัตราภาษี 10% ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 อัตราภาษี 15% ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินได้สุทธิ 750,001-1,000,000 อัตราภาษี 20% ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 อัตราภาษี 25% ไม่เปลี่ยนแปลง

* การยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ยังคงสามารถใช้ต่อไป

ส่วนที่เปลี่ยนแปลง
———————–
เงินได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 อัตราภาษีเดิม 30%
เปลี่ยนเป็น เงินได้สุทธิ 2,000,001-5,000,000อัตราภาษี 30%

เงินได้สุทธิ 4,000,001 ขึ้นไป อัตราภาษีเดิม 35%
เปลี่ยนเป็น เงินได้สุทธิ 5,000,001 ขึ้นไปอัตราภาษีใหม่ อัตราภาษี 35%

5. ปรับปรุงเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ดังนี้

(1) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) ประเภทเดียว

- หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 50,000 บาท
เป็นต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 100,000 บาท

- หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 100,000 บาท เป็นต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 200,000 บาท

(2) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน

- หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท
เป็นต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

- หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 60,000 บาท เป็นต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 120,000 บาท

(3) กรณีกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

(4) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

6. การปรับปรุงดังกล่าวข้างต้น ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2560 เป็นต้นไป

การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้โดยผู้เสียภาษีที่มีเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนและหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการอื่น จะเริ่มเสียภาษีเมื่อมีเงินได้ 26,000 บาทต่อเดือน

รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมวางแผนภาษีเพื่อให้เงินงอกเงยกันนะครับ

Comments

comments