Currently browsing tag

ข้อมูลเรื่องการลงทุน

ถ้าแพลนแล้วนิ่ง เงินออมไม่วิ่งนะคร้าบ

ข้อมูลจากพี่ตู่ วรวรรณ ธาราภูมิครับ วศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง บอกว่า ในมุมของผลตอบแทนไม่สามารถตอบได้ว่าลงทุนกองทุนรวมหรือซื้อหุ้นรายตัว แบบไหนให้ผลตอบแทนดีกว่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ในมุมของความเสี่ยงตอบได้ทันทีว่าลงทุนในกองทุนรวมมีความเสี่ยงต่ำกว่ามาก การลงทุนก็เหมือนการเดินทาง ระหว่างทางต้องไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและไปให้ถึงเป้าหมาย มือใหม่ จึงควรเริ่มต้นการลงทุนกับกองทุนรวมเพราะสามารถควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในวงจำกัดได้ คำถามต่อมา จะเลือกกองทุนไหนดี แนะนำให้ดูนโยบายการลงทุนว่าตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ไหม ซึ่งกองทุนรวมมีหลากหลาย แต่กองทุนรวมที่ต้องการสร้างเงินกองทุนไว้ใช้ในระยะยาวควรจะเป็นกองทุนแบบผสม ผู้ลงทุนสามารถผสมเอง หรือให้ ผู้จัดการกองทุนผสมให้ เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ กลุ่มตราสารหนี้ และลงทุนในสินทรัพย์ที่คาดหวังในแง่ของผลตอบแทนที่สูงสุดตามอัตราการเติบโตของธุรกิจ คือหุ้น จุดที่ต้องระวังของการลงทุนเพื่อการเกษียณและคนวัยใกล้เกษียณคือความเชื่อ หรือ Mindset ของคำว่าเกษียณ ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคือการหยุด ซึ่งไม่อยากให้คิดแบบนั้น อยากให้มองว่าการเกษียณคือคนที่เป็นอิสระจากภาระงานประจำ ควรจะมีอนาคตที่มีความหวัง เตรียมตัววางแผนการใช้ชีวิต การใช้ชีวิตแบบเด็กจะทำให้เกิดการขวนขวาย หากอยากลงทุน ให้ลงมือทำ แต่ถ้าไม่ได้วางแผนการเงินที่ดีพอจะไม่มีเงินลงทุน และมีเงินไม่พอใช้ (วศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง บรรยายในงาน “วางแผนการลงทุน เพื่อชีวิตดี๊ดีวัยเกษียณสุข” จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย …

ลงทุนวัยเก๋า

ข้อมูลจากพี่ตู่ วรวรรณ ธาราภูมิครับ วศิน วณิชย์วรนันต์ ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย แนะนำ วัยเก๋า ให้หลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว เพราะตามสถิติการลงทุนในหุ้น 100% ปีที่ราคาลงแรงๆ ไปถึง 25% ซึ่งจะต้องถือหุ้นนั้นต่อไปอีก 5 ปี ราคาจะกลับมาที่เดิม กรณีเติมตราสารหนี้เข้าไป 50% และมีหุ้นอยู่ 50% ในปีที่หุ้นลงแรงจะลดลงเพียง 6% และใช้เวลาแค่ 2 ปี ในการตีกลับมายืนอยู่จุดเดิม ถ้าลงทุนในหุ้น 30% ที่เหลือเป็นตราสารการเงินอื่นๆ ปีที่หุ้นลงแรงๆ จะลงไม่มาก และใช้เวลาในการตีกลับมายืนอยู่จุดเดิมแค่ปีกว่าๆ เท่านั้น จากสถิติได้คำตอบว่า ควรจะเป็นการลงทุนแบบผสมตราสารหนี้และตราสารทุนหรือหุ้น เพราะจะทำให้ได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ กองทุนผสม มี 2 แบบ คือ กองทุนบาลานซ์ จะมีการจัดสัดส่วนการลงทุน แล้วรักษาสัดส่วนนั้นไว้ ผลตอบแทนอาจจะมีการเหวี่ยงไปมา แต่ไม่เหวี่ยงมากเท่ากับกองทุนหุ้นอย่างเดียว กองทุนรวมทาร์เก็ตรีเทิร์น …

ลงทุนเพื่อผลตอบแทนสม่ำเสมอ

ข้อมูลจากพี่ตู่ วรวรรณ ธาราภูมิครับ สมิทธ์ พนมยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ไทยพาณิชย์ แนะนำว่า ก่อนเลือกสไตล์ลงทุนต้องรู้ก่อนว่าในแต่ละเดือนใช้เงินเท่าไร และจะต้องมีเท่าไรจึงจะพอ หลังจากนั้นจึงมาจัดพอร์ตลงทุน และเลือกกองทุน กองทุนหนึ่งที่น่าสนใจ คือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทั้งแบบที่มีสิทธิในทรัพย์สินหรือเป็นเจ้าของในทรัพย์สินที่ลงทุน (Freehold) และนำรายได้จากการให้เช่ามาจ่ายเป็นเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ปัจจุบันให้ผลตอบแทน 5% ต่อปี แบบที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน (Leasehold) จะลงทุนโดยการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันยังให้ผลตอบแทน 6-7% สินทรัพย์กลุ่มนี้ถ้าเทียบกับการไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่สิงคโปร์ หรือฮ่องกง หรือไต้หวัน จะได้ผลตอบแทน 2-3% นอกจากนี้ ยังมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล หรือ DIF ปัจจุบันให้ผลตอบแทนประมาณ 6-7% กองทุน 2 แบบนี้ สามารถสร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ จึงเหมาะกับคนที่ต้องการมีรายได้ที่แน่นอน และยังเหมาะกับคนวัย 70 กลางๆ ไปถึง 70 ปลายๆ …

รายชื่อ บลจ ที่ได้รับอนุญาต

รายชื่อบลจ ที่ได้รับอนุญาตจาก กลต บมจ. บลจ. กรุงไทย บลจ. กรุงศรี จำกัด บลจ. กสิกรไทย จำกัด บลจ. แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด บลจ. ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด บลจ. โซลาริส จำกัด บลจ. ทหารไทย จำกัด บลจ. ทาลิส จำกัด บลจ. ทิสโก้ จำกัด บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด บลจ. ธนชาต จำกัด บลจ. บัวหลวง จำกัด บลจ. บางกอกแคปปิตอล จำกัด บลจ. เพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว จำกัด บลจ. ฟิลลิป จำกัด บลจ. …

เราควรขายกองทุนรวมเมื่อใด

ขอนำสาระน่ารู้จากพี่ตู่วรวรรณ มาฝากทุกๆท่านครับ เราควรขายกองทุนรวมเมื่อใด ———————————– มีคนถามกันบ่อยมากว่าเมื่อไหร่ที่เขาควรจะขายกองทุน หรือจะให้ถือกองทุนไปจนชั่วฟ้าดินสลาย บางคนบอกว่าต้องการขายเพราะผลการดำเนินงานตอนนี้แย่ บางคนบอกว่าแม้ผลการดำเนินงานดีแต่เบื่อแล้วอยากเปลี่ยนกองไปซื้อของ บลจ. อื่นบ้าง บางคนก็ขายกองทุนประเภทหนึ่งเพื่อไปซื้อกองทุนประเภทอื่นที่กำลังฮิต เมื่อเราถามไปยัง บลจ. ที่เราซื้อกองทุนนี้ เขามักจะตอบว่า “ไม่ควรขาย หากคุณมีการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลากประเภทอย่างเหมาะสมแล้ว เพราะว่าแม้กองทุนหุ้นจะไม่ดีในช่วงนี้ แต่กองทุนประเภทอื่นๆ ยังดีอยู่ และโดยรวมแล้วพอร์ตการลงทุนของคุณให้ผลตอบแทนที่ดีพอเหมาะกับความเสี่ยงที่คุณยอมรับ” ที่เขาตอบเช่นนั้นมันไม่ได้ผิด แต่ปัญหาก็คือคนไทยไม่ค่อยลงทุนระยะยาว เราจึงขายกองทุนออกเป็นครั้งคราว บางคนขายกองทุนหุ้นที่มีมูลค่า NAV ลดลงจาก 10 บาทต่อหน่วย แล้วไปซื้อกองทุนหุ้นเหมือนกันในราคา 4 บาทต่อหน่วยเพราะคิดผิดไปว่ามันถูกกว่า บางคนก็ขายแล้วเอาเงินไปซื้อกองทุนตราสารหนี้ หรือไม่กลับมาในกองทุนใดใดอีกเลยเพราะเข็ดแล้ว . คำถามที่ควรถามตนเองก็คือ มันเป็นการกระทำที่ฉลาดหรือไม่ที่จะขายกองทุนนี้ ในเวลานี้ คำตอบคือ “ใช่ คุณควรขาย” หากว่ามีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ใน 3 ประการข้างล่างนี้เกิดขึ้น . 1. ผู้จัดการกองทุนคงจะหลับ หรือมีจำนวนกองทุนที่ดูแลมากเกินกำลัง หรือต้องเข้าประชุมบ่อยไป …

ข้อคิดในการจัดการเงินสำหรับปี 2561

ผ่านไปแป๊บๆจะสิ้นปีแล้ว มีอะไรที่เราถึงเป้าหมายและอะไรที่ยังไม่ถึงบ้างครับ วันนี้ได้ข้อคิดดีๆจากข้อเขียนของพี่ตู่ วรวรรณ ธาราภูมิ เกี่ยวกับการจัดการเงินในปีถัดไปมาฝากกันนะครับ ข้อคิดในการจัดการเงินสำหรับปี 2561 เป็นเรื่องปกติ ที่ในทุกๆ ปลายปี จะมาให้ข้อคิดเพื่อวางแผนการเงินส่วนบุคคลและครอบครัว เพื่อ 1. ให้รู้จักวางแผนการเงิน 2. ให้ทบทวนสถานะครอบครัวและการเงินที่อาจเปลี่ยนไปในแต่ละปี และ 3. หากมีแผนการเงินแล้ว มีพอร์ตลงทุนของตนที่เหมาะสมแล้ว ก็จะเตือนให้รู้จักปรับสมดุลย์ (Rebalancing) สัดส่วนสินทรัพย์ลงทุนให้เหมาะกับเป้าหมายทางการเงินของแต่ละคน 1. จัดทำแผนรายได้ ค่าใช้จ่าย ประจำปี 2561 —————————————————— เราต้องเริ่มจากการทำบัญชีรับจ่ายของเราและครอบครัวที่อยู่ในอุปการะของเรา โดยแยกเป็นรายเดือน เพราะเมื่อรู้ที่มาของเงินได้ กับรู้ว่าเงินเราจะออกไปจ่ายทางไหนได้บ้างแล้ว เราจะเห็นฐานะทางการเงินของเราในวันนี้และในอนาคต ทำให้เริ่มพิจารณาได้ว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้มีเงินออมสะสมไปลงทุนทุกเดือน เราใช้จ่ายอะไรบ้าง อะไรควรลด เราจะหารายได้เพิ่มได้ไหม ทั้งนี้ อย่าลืมใส่รายการผ่อนชำระหนี้ และดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย (ถ้ามี) นอกจากนี้ก็ให้ใส่รายจ่ายขาจรที่ไม่ได้เกิดประจำเป็นรายเดือน เช่น ค่าส่วนกลางที่พักอาศัย ค่าเล่าเรียนบุตร เบี้ยประกันชีวิตและประกันภัย ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ค่าบำรุงรักษาที่อยู่อาศัยและยานพาหนะ …

หุ้นธรรมาภิบาลไทย

คณะกรรมการกำหนดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ในการลงทุน ของกองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย ประกอบด้วยตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 11 แห่ง ได้ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์การคัดกรองหุ้นเข้า Universe ที่จะเข้าลงทุน โดยมีรายชื่อหลักทรัพย์ที่ลงทุนได้ ณ 31 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านการกลั่นกรองแล้ว มีจำนวน 123 บริษัท ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 22 ส.ค.2560 สำหรับรายชื่อหลักทรัพย์ ได้แก่ 1.ADVANC 2.AMANAH 3.AKP 4.AP 5.ASP 6.AYUD 7.BAFS 8.BANPU 9.BAY 10.BBL 11.BCP 12.BLA 13.BROOK 14.BTS 15.BWG 16.CENTEL 17.CFRESH 18.CIMBT 19.CM 20.CPI 21.CPN 22.CNS 23.CSL 24.DCC 25.DEMCO …

ทำไมลงทุนแล้วล้มเหลว

ทำไมลงทุนแล้วล้มเหลว —————————– เคยสงสัยไหมว่าทำไมนักลงทุนที่เก่ง มีความรู้ เข้าใจในเรื่องการลงทุนเป็นอย่างดี กลับลงทุนแล้วล้มเหลว นั่นเป็นเพราะเขาไม่ได้ตัดสินใจลงทุนตามหลักการหรือข้อมูลที่เขามีอยู่ ในโลกของการลงทุน ความจริงกับทฤษฎีที่ร่ำเรียนมามันไปกันคนละทิศละทาง กล่าวคือนักลงทุนที่มีพื้นฐานความรู้ดี กลับไม่ได้ใช้เหตุและผลในการตัดสินใจลงทุน . ตัวอย่างที่ 1 : ผมไม่ผิด —————————— หลังจากรับรู้ว่าตนเองผิดพลาด นักลงทุนมักหลีกเลี่ยงความเสียใจว่าตนเองได้ลงทุนผิดไปแล้ว คือรู้ทั้งรู้ว่าพลาดแล้วแต่ไม่ขายทิ้ง เพราะไม่สามารถยอมรับได้ว่าตนเองลงทุนผิด ทั้งที่เมื่อพลาดแล้วควรดูปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นๆ ว่าควรจะถือต่อหรือไม่ จนเกิดเป็นประโยคยอดฮิตว่า ไม่ขายไม่ขาดทุน … (กอดหุ้นจนตัวตาย) . ตัวอย่างที่ 2 : ตื่นตูมกับข่าวร้าย และเพิกเฉยกับข่าวดี —————————————————————— นักลงทุนจำนวนมากมักจะตกใจจนขายหุ้นมากเกินควรเวลามีข่าวร้าย โดยลืมนึกถึงปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นๆ และเวลามีข่าวดีก็ซื้อหุ้นน้อยเกินควร เรื่องแบบนี้ส่วนหนึ่งมีผลจากสื่อต่างๆ และเนื้อข่าวที่มีอารมณ์และความคิดเห็นผสม มีการพาดหัวข่าวคึกโครมเกินจริง โดยเฉพาะเวลามีข่าวร้ายที่ถูกมองว่าขายได้มากกว่าข่าวดี ปัญหาจากความผิดพลาดเชิงพฤติกรรม แก้ไขได้โดยการสร้างวินัยการลงทุนที่มองเป้าหมายระยะยาว ให้สอดคล้องกับการวางแผนการเงิน แล้วลงทุนอย่างสม่ำเสมอ นี่จะช่วยทำให้นักลงทุนผ่านพ้นอารมณ์เหล่านี้ไปได้จนประสบผลสำเร็จในการลงทุน . ข่าวร้ายคือบ้านเรายังมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้ความเข้าใจ เล็งเห็นผลเลิศแต่เรื่องลงทุนฉาบฉวยหวังกำไรเร็วๆ ในระยะสั้น …

การเก็บภาษีตราสารหนี้จากกองทุนรวม

การเก็บภาษีตราสารหนี้จากกองทุนรวม ———————————————- ในการฝากเงิน เมื่อได้รับดอกเบี้ย ผู้ฝากจะต้องเสียภาษี ซึ่งธนาคารเขาจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากดอกเบี้ยที่ลูกค้าได้รับ แล้วธนาคารก็นำเงินภาษีส่งสรรพากร เรียกว่าเมื่อใดมีรายได้ ก็ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ แต่สำหรับกองทุนรวมนั้น เมื่อกองทุนนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ / เงินฝาก เวลาได้ดอกเบี้ยก็ไม่ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และเมื่อกองทุนจ่ายเงินคืนให้ลูกค้าในแบบที่เรียกว่าลูกค้าขายคืนอัตโนมัติ (Auto-redemtion) ก็ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ตรงนี้ไม่ได้ผิดกฏหมายเลย แต่เป็นช่องโหว่ที่สรรพากรไม่ได้ตั้งใจให้เป็นเช่นนี้เลยตั้งแต่แรก และจำได้ว่ารัฐบาลตั้งแต่อดีตทุกรุ่นตั้งแต่มีอุตสาหกรรมกองทุนรวมมาจนถึงรัฐบาลชุดนี้ ก็ไม่เคยมีแนวคิดว่าจะสนับสนุนกองทุนรวมด้วยการไม่เก็บภาษีตราสารหนี้ที่กองทุนรวมลงทุนเลย เรื่องนี้ กลต.ก็เคยเตือนพวกเรามานานหลายปีแล้วว่าอุตสาหกรรมเราอาจจะไม่ได้เติบโตด้วยฝีมือหรือเปล่า และสรรพากรก็อาจมองได้ว่าเรากำลังเลี่ยงภาษี (อย่างถูกกฏหมาย) ซึ่งไม่ใช่เจตนารมย์ของรัฐบาลเลย ต่างกับการที่รัฐเต็มใจสนับสนุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF กับ LTF และกองทุนหุ้น ด้วยการผ่อนภาระทางภาษีในรูปแบบต่างๆ เมื่อธนาคารยังมีสภาพคล่องล้น หมายถึงมีเงินฝากเข้ามามากกว่าที่ปล่อยกู้ออกไป ในอดีตเมื่อยัง “ไม่มีกองทุนรวม” ธนาคารเขาก็เอาเงินที่เหลือนี้ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและอื่นๆ เพื่อให้สามารถหารายได้มาเพียงพอกับการต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝาก ซึ่งธนาคารเขาก็ต้องกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำๆ เพื่อจะได้ไม่ขาดทุนจากเงินฝากล้นแบงค์ และเมื่อใดที่เศรษฐกิจดี …