เขียนโดย ครูแชมป์
|
วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2013 เวลา 21:07 น. |
ตอนสมัยเรียน ป.ตรี ตอนนั้น ผมเรียนรัฐศาสตร์ของ ม.ราม คู่ไปด้วย สิ่งที่สนใจมากคือวิชากฏหมาย จนกระทั่งได้มีโอกาส อ่านบทความเรื่องหนึ่ง เค้าบอกว่า บางคน ตอนเรียนกฎหมาย ไม่ได้ใส่ใจตัวบทสักเท่าไร กลับมีความคิดว่า เดี๋ยวทำงานกฎหมายไป ก็เก่งเอง
...อ. บุญร่วม เีทียมจันทร์ ได้บอกว่า คนที่คิดแบบนี้ผิดมาก เพราะคุณไปลองผิดลองถูกกับลูกความ ไม่ว่าจะหรือชนะ เค้าก็ต้องจ่ายค่าจ้างอยู่ดี
ผมว่า คนเป็นครูก็เช่นกัน บางครั้งการเชื่อมั่นในความคิด ทำอะไรโดยปราศจากทฤษฎีรองรับ ล้วยเป็นบาป แต่ถ้าจะทำอะไรโดยอิงทฤษฎีตลอด ก็ขาดสิ่งใหม่ๆ ขาดนวัตกรรม
ดังนั้น เราควรเดินอยู่ตรงกลาง ไม่ทำอะไรเกิดขอบเขตของทฤษฎีมากนัก และไม่ทำอะไรตามทฤษฎีเป๊ะ
เหมือนตอนผมไปปฎิบัติธรรม พระจีนที่มาบวชวัดแพร่ธรรมารามบอกผมว่า คนเป็นพระต้องยึด 2 อย่าง คือ พระธรรมเป็นใหญ่ พระวินัยเป็นหลัก
ปฏิบัติธรรม แต่ขาดวินัยก็ไม่ดี เคร่งวินัยแต่ไม่ปฏิบัติก็ไม่ดี
...ดังนั้น คนเป็นครู ควรยึดทางสายกลางในการปฏิบัติครับ
ตัวผมก็ไม่ได้ดีเด่นอะไรมากมาย แต่ผม.. ทำตามที่ครูบาอาจารย์ของผมสอนผมมา เพราะสิ่งที่ท่านทำ หล่อหลอมให้ผมเป็นแบบทุกวันนี้ |
|
ใครแต่งคำขวัญจังหวัดพิษณุโลก |
|
|
|
เขียนโดย ครูแชมป์
|
วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2013 เวลา 12:42 น. |
หากเราลองตั้งคำถามว่า คำขวัญประจำจังหวัดพิษณุโลก (รวมถึงจังหวัดอื่นๆ) คืออะไร ครูแชมป์คิดว่าคนพิษณุโลกน่าจะตอบได้เกือบทุกคน แต่ถ้าถามต่อไปว่า แล้วใครเป็นผู้แต่งคำขวัญประจำจังหวัด เสียงที่เปล่งคำขวัญอย่างเจื้อยแจ้วเมื่อครู่อาจจะเงียบลงไปทันใด

ผมสังเกตมานานแล้ว ประชาชนเจ็ดสิบล้านคนล้วยรู้คำขวัญจังหวัดของตัวเอง แต่กลับไม่รู็ว่าใครเป็นผู้แต่ง จริงแล้วเราควรให้ความสำคัญให้มาก น่าจะให้ความสำคัญพอๆกับรางวัลซัไรต์ เพราะคำขวัญที่กว่าจะคัดเลือกมาเป็นสิ่งที่ฟังแล้วรู้เลยว่ามีของดีอะไรบ้างมันยาก เพราะตัวครูแชมป์เองก็เคยส่งประกวดคำขวัญเช่นกัน (เข้ารอบ 10 คำขวัญที่จะคัดเลือกแล้ว ปรากฏว่ามีการล้มเลิกยุทธศาสตร์จังหวัดใหม่ไป จึงต้องล้อมโครงการนี้ไปด้วย)
สำหรับจังหวัดพิษณุโลกนั้นมีดังนี้ "พระพุทธชินราชงานเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา"
ผมอยากจะเขียนบทความนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มของจังหวัดอื่นๆว่า ท่านทั้งหลายควรเผยแพร่เกียรติคุณของผู้ที่แต่งคำขวัญประจำจังหวัด เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกยุทธศาสตร์จังหวัด บ่งบอกเอกลักษณ์ของจังหวัด และบ่งบอกว่า มีดีอะไรได้อย่างดี
สำหรับท่านผู้แต่งคำขวัญประจำจังหวัดพิษณุโลกคือ ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีย์ ไวยกุฬา ข้าราชการบำนาญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2013 เวลา 13:36 น. |
อ่านเพิ่มเติม...
|
เขียนโดย ครูแชมป์
|
วันพุธที่ 09 ตุลาคม 2013 เวลา 00:00 น. |
เมื่อสองเดือนก่อน หนังสือพิมพ์หัวสีหลายฉบับได้พาดหัวถึงพระชื่อดัง ทีไ่ด้สวมแว่นดำขณะโดยสารเครื่องบินเจ็ต และกลายเป็นประเด็นสังคมในเวลาต่อมา
หลายสำนักข่าวให้ความสนใจ โดยเฉพาะรายการข่าวเช้าที่ให้ความสำคัญมากๆ (จนมีคนบอกว่า ข่าวเช้า ข่าวเย็น 80% เป็นข่าวของพระรูปนั้น) มีการติดตามตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆถึงเรื่องของความผิดปกติ หรือข้อสงสัยต่างๆ จนบางคนรู้สึก "เบื่อ"
วันนี้ ผมได้ไปเสวนากับพวกพี่ๆ พอมาถึงหัวข้อที่มีคนแสดงความเห็นในคลิป youtube ของหลวงปู่แขก ปภาโส ในครั้งที่ท่านปลุกเสกอธิษฐานจิต ร่างของท่านสั่นโยก (ดูคลิปดังกล่าวได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=jAyVMChIgYI ) พี่ที่ผมเคารพท่านหนึ่งได้พูดคุยถึงประเด็นนี้ เค้าบอกว่ามีคนเอาคลิปวิดีโอหลวงปู่ลง แล้วมีคนมาโพสต์ด่าว่า ด้วยถ้อยคำที่ค่อนข้างรุนแรง (ประมาณว่า "เป็นพระประสาอะไรทำไมใส่แว่นดำ ผมไม่นับถือ แบบนี้ไม่ใช่พระ")

พี่ท่านนั้นก็ตอบไปในคอมเมนท์ว่า "สาเหตุที่หลวงปู่แขกต้องสวมแว่นตาเวลาท่านไปข้างนอก หรือไปร่วมพิธีปลุกเสกต่างๆ ตาของท่านแพ้แสง จึงจำเป็นต้องสวมแว่นตากันแสงเพื่อที่จะให้สามารถพอมองเห็นได้"
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2013 เวลา 23:45 น. |
อ่านเพิ่มเติม...
|
ภาพถ่าย... สิ่งระลึกถึงลูกศิษย์และคนห่วงใย |
|
|
|
เขียนโดย ครูแชมป์
|
วันอังคารที่ 08 ตุลาคม 2013 เวลา 20:38 น. |
เมื่อวาน ก็รำลึกครบรอบ 8 ปี ของการเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปแล้ว
วันนี้ ขอนำภาพถ่าย ของที่ระลึกที่บรรดาลูกศิษย์และผู้รักใคร่ชอบพอกันออกมารำลึกเรียกน้ำตากันสักหน่อยครับ
ขอบคุณทุกท่าจากดวงใจนะครับ
ครูแชมป์ พิริยะ ตระกูลสว่าง
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 08 ตุลาคม 2013 เวลา 20:48 น. |
ครบ 8 ปี กับการเป็นข้าราชการครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
|
|
|
เขียนโดย ครูแชมป์
|
วันจันทร์ที่ 07 ตุลาคม 2013 เวลา 00:00 น. |
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 เป็นวันแรกที่ผมได้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมจำได้ว่าเป็นวันที่ภาคภูมิใจที่สุด
ก่อนหน้านี้ ผมปฏิเสธที่จะทำอาชีพครู เพราะได้เป็นความลำบาก ยากจนของพ่อและแม่ซึ่งเป็นครูทั้งคู่
ผมยังจำได้ว่า เราต้องซื้อข้าวสารที่ละลิตรมาหุงกันกันอย่างประหยัด เพราะเงินเดือนของพ่อกับแม่ไม่พอ อยากกิน อยากได้อะไร ก็ไม่ค่อยได้ตามใจ พ่อกับแม่ยังต้องขี่มอเตอร์ไซต์ไปสอนวันละหลายสิบกิโลเมตร (เหมือนกับผมตอนนี้ ที่ต้องขี่ไปกลับวันละเกือบ 50 กิโลเมตร)
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 08 ตุลาคม 2013 เวลา 20:27 น. |
อ่านเพิ่มเติม...
|
|
|
|
|
หน้า 42 จาก 44 |