เหรียญผู้ชนะสิบทิศ หลวงปู่แขก

ปีนี้เป็นปีชงของปีจอ ก่อนหน้านี้เห็นเหรียญหนุมานมาหลายรุ่นหลายแบบ ส่วนตัวไม่ได้ชอบเลย เพราะเคยรู้มาว่า คนที่ห้อยหนุมาน สักหนุมาน ล้วนมีอาการ “ร้อน” ทั้งนั้น นั่นเพราะหนุมานเหมาะสำหรับสายบู้

เหรียญหนุมานผู้ชนะสิบทิศ หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์

เหรียญหนุมานผู้ชนะสิบทิศ หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์

จริงๆผมเห็นเหรียญผู้ชนะสิบทิศมาหลายปีแล้วแต่ก็ไม่อยากนำมาใช้ จนกระทั้งปีนี้ไม่รู้เป็นอย่างไร อยากนำมาห้อยเสียเหลือเกิน บังเอิญไปอ่านเจอด้วยว่าหนุมานเป็นที่เกรงใจของพระเคราะห์จึงแก้ชงได้(ในกรณีของคนที่เชื่อปีชง)

ผมได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าคุณหลวงปู่แขก วันที่ 28 มีนาคม 2561 เมตตาจารยันต์ลงในเหรียญด้านหน้า และเล็บมือ ข้าวเหลือช้อนสุดท้าย และจีวรของหลวงปู่นำใส่ลงไปตอนเลี่ยมพลาสติกด้วย

อันนี้เลี่ยมแบบเลนส์ครับ เลี่ยมโบราณแบบนี้สวยดี ห้อยด้านนอกได้ไม่อายใคร

ส่วนเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เดี่ยวถ้ามีแล้วจะมาเขียนเล่าเพิ่มนะครับ

ประสบการณ์หลวงปู่แขก มาฆบูชา 2561

#บันทึกประสบการณ์วันมาฆบูชา2561

(เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นของผู้เขียนเกี่ยวกับหลวงปู่แขก ปภาโส วัดสุนทรประดิษฐ์ ไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ทั้งหมด หรือบางส่วน ในรูปแบบของข้อความ สื่อดิจิทัล เพื่อป้องกันไม่ให้นำไปใช้ของกลุ่มพุทธพาณิชย์เหมือนบทความเดิมอันไม่ได้เกิดจากความศรัทธาอย่างแท้จริง)

ในวันที่ 1 มี.ค. 2561 ซึ่งเป็นวันหยุดวันมาฆบูชา ผมได้ขี่จักรยานยนต์ไปทำบุญที่วัดสุนทรประดิษฐ์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระรัตนตรัยและอุทิศให้เทวดารักษาตัวของบิดามารดา ทุกครั้งที่ไปที่วัดก็จะได้รับความรู้สึกสบายใจ เพราะเหมือนได้อยู่ใกล้ญาติผู้ใหญ่ที่คอยปกป้องดูแล

เมื่อไปถึง ได้นำอาหารไปถวายหลวงตาไหว (พระครูประสาธท์ธรรมคุณ) ก็ได้ไปดูที่กุฏิของหลวงปู่แขก (ท่านเจ้าคุณพระมงคลสุธี) พบว่าหลวงปู่เพิ่งฉันอาหารเสร็จพอดี จึงขอโอกาสบีบนวดปรนบัติรับใช้ตามวาระ เมื่อนั่งคุยนั่งนวดไปสักพัก หลวงปู่บอกว่าเดี๋ยวจะเข้าที่นั่ง แล้วท่านก็ลุกไปกราบพระ ผมก็เปิดพัดลมตัวที่อยู่ใกล้ๆแต่ก็ไม่ทำงาน ด้วยความกลัวว่าจะมายุงมากัดหลวงปู่ จึงได้หาสิ่งของมาพัดให้กลวงปู่เบาๆ

ในขณะที่นี่นังพัดวีให้หลวงปู่ แว๊บหนึ่งของความคิดอยากจะขอบารมีของพ่อแม่ครูอาจารย์เข้ามาในตัวเราบ้าง จึงขออาราธนาบารมีหลวงปู่ แล้วจับตรงปลายชายสังฆาฏิด้านหลังของหลวงปู่โดยท่องอาราธนานังไว้ตลอด

ผมไม่รู้ว่าจะเรียกสิ่งนี้ว่าอย่างไร แต่สิงที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นก็สร้างความรู้สึกฉงนใจ เพราะปลายนิ้วที่สัมผัสกับชายผ้าสังฆาฏิรู้สึกเหมือนเราจับชีพจรคนอื่นที่ข้อมือ รู้สึกเลยว่า หนึบ หนึบ มันชีพจรที่เต้นเป็นจังหวะชัดๆ ขณะนั้นไม่ได้สัมผัสตัวของหลวงปู่เลย

ขอบันทึกไว้เพื่อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นส่วนบุคคล ไม่ได้อ้างอิงถึงอิทธิปาฏิหาริย์ใดๆ เพราะทุกครั้งที่พูดคุยกับหลวงปู่ ท่านจะสอนหลักธรรมะโดยตลอดไม่พูดถึงเรื่องปาฏิหาริย์ และเมื่อมีใครมาเล่าประสบการณ์ ท่านก็จะยิ้มๆแล้วก็อธิบายตามหลักธรรมของพระพุทธองค์

พิริยะ ตระกูลสว่าง
2 มีนาคม 2561

พระไพรีพินาศ รุ่นชัยชนะศึก พ.ศ. 2546

พระไพรีพินาศรุ่นชัยชนะศึก

พระไพรีพินาศรุ่นชัยชนะศึก

จากการที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงหลั่งน้ำทักษิโณฑก ประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2123 นั้น พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถ มีน้ำพระทัย กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ทรงเป็นนักรบและเป็นแม่ทัพผู้รอบรู้ในยุทธศาสตร์ ตลอดจนยุทธวิธีต่างๆ เป็นเลิศเป้นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งต่อคนไทยทั้งชาติ ทุกคร้งที่พระองค์เสด็จออกทำศึกสงคาม จะเสด็จนำหน้ากองทัพทุ่มเทพระวรกาย เพื่อประชาชน และประเทศชาติ ตลอดพระชมม์ชีพของพระองค์ ความกล้าหาญ และเด็ดเดี่ยวของพระองค์เป็นที่เกรงขามของข้าาศึกเป็นอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจของพรเองค์ประดุจดังพระสยามเทวาธราช ได้อัญเชิญให้พระองค์มาถือกำเนิดเพื่อกอบกู้เอกราชของชาติได้และสร้างความเจริญมั่นคง ความเป็นปึกแผ่นของชาติไทย พระเกียรติคุณชองพระองค์ได้แผ่ขจรขจายไปทั่ววทุกสารทิศ จนได้รับสมัญญานามมหาราชตั้งแต่อดีตกาล ด้วยกุศลผลบุญที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้สร้างไว้มากมายมหาศาล ต่อชาติ และประชาชนในครั้งนั้น ยังประทับอยู่ในความทรงจำของประชาชนในครั้งนั้น ยังประทับอยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าในปัจจุบันโดยที่มิอาจจะลืมเลือนไปได้

การก่อสร้างพระมหาเจดีย์ฯ เพื่อเป็นอนุสรณ์พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในพื้นที่อำเภอแม่สาย
จังหวัดเชียงราย จะเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนให้รำลึกถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และจะได้รวมพลังสามัคคีแก้ไขปัญหาของชาติให้มีความมั่นคง และรักษาอธิไปไตยของชาติตลอดไป


1. วัตถุประสงค์ของการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์
1.1 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย จนเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน
1.2 เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวไทย โดยเฉพะาเพื้นที่ภาคเหนือตอนบนให้ร่วมแรงร่วมใจ เสียสละชีวิต
เลือดเนื้อ ในการปกป้องอธิปไตยของประเทศชาติ
1.3 เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ทรงเป็นนักรบและ แม่ทัพ ผู้รอบรู้ในยุทธศาสตร์ตลอดจนยุทธวิธีต่างๆ เป็นเลิศ
1.4 เพื่อเป็นปูชนียสถานที่ชาวไทยทุกคนได้เคารพสักการะ อีกทั้งชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวได้ทราบถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของพระองค์

2. สถานที่ก่อสร้างโครงการ
บริเวณฐานปฏิบัติการตำรวจตระเวนชายแดน (เก่า) พิกัด NC 905584 ความสูง 1,750 ฟุต บ้านป่ายางผาแตก
อ.แม่สาย จ.เชียงราย เส้นทางสายอำเภอแม่สาย-บ้าผาหมี-บ้านผาฮี้

3. รูปแบบในการก่อสร้าง
3.1 พระมหาเจดีย์ รูปแบบเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3.2 พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยู่ด้านหน้าพระมหาเจดีย์ หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ
มีขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริง 2.5 เท่า เป็นรูปประทับบนหลังม้า

4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เมื่อพระมหาเจดีย์ “ชัยชนะศึก” ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ตามโครงการ จะเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขาสูง 1,750 ฟุต ที่มองเห็นไกลออกไปทุกพื้นที่ ทำให้ชาวไทยทุกคนได้เคารพสักการะ ได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมากมาย เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยทุกคนให้ตระหนักถึงศักดิ์ศรีของประเทศชาติ มีความภูมิใจที่เกิดมาเป็นประชาชนคนไทย มีความรักสามัคคี เสียสละที่จะอุทิศชีวิตและเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศชาติให้อยู่คงตลอดชั่วกาลนาน

03

แบบม้าที่ช่างกำลังดำเนินงานปั้นอยู่ในขณะนี้

พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ที่จะนำไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ชัยชนะศึก จ.เชียงราย

พิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2545
บริเวณที่จะทำการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ “ชัยชนะศึก” และพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.แม่สาย จ.เชียงราย

04

(ซ้าย) พระเทพรัตนกวี รองเจ้าคณะภาค 5 เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
(กลาง) และพระปัญญาพิศาลเถร (หลวงพ่อไพบูลย์) วัดอนาลโย จ.พะเยา ประกอบพิธีเจิมแผ่นศิลาฤกษ์
(ขวา) พระราชครูวามเทพมุนี ประกอบพิธีบวงสรวง

05

พลเอกวัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานวางศิลาฤกษ์

พิธีบวงสรวง และเททองเป็นปฐมฤกษ์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
โดยพลเอก วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ รองผู้บัญชาการทหารบกเป็นประธานในพิธี
พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศ เป็นองค์ประธานเททอง
ร่วมด้วยพระเกจินั่งปรก 8 รูป

06

07

แผ่นยันต์ 108 นะ 14 ที่นำมาเป็นชนวนในการจัดสร้างตามตำราการจัดสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์
เครื่องหมายยศทองคำ และแผ่นทองคำที่พลเอก วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์มีจิตศรัทธาร่วมหล่อเป็นชนวนมวลสาร

08

พิธีเททองหล่อชนวนแผ่นยันต์ 999 แผ่น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โดยมีพระเกจิอาจารย์นั่งปรก และร่วมเททองหล่อ
เพื่อนำชนวนเหล่านี้ไปผสมในการสร้างพระไพรีพินาศทั้งหมด
(ชื่อพระเกจิอาจารย์เรียงตามลำดับจากซ้าย->ขวา)

09

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ กทม., หลวงพ่อทอง วัดสำเภาเชย ปัตตานี, หลวงปู่ทิม วัดพระชาว อยุธยา,หลวงพ่อแขก วัดสุนทรประดิษฐ์ พิษณุโลก, หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม, หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี

10
หลวงพ่ออาคม วัดดาวนิมิตร เพชรบูรณ์, หลวงพ่อดำ วัดตากใบ นราธิวาส, หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา ชลบุรี,
หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ ราชบุรี, หลวงพ่อเนียม วัดบางไทร นครศรีธรรมราช, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ อยุธยา

11
หลวงพ่อทอง วัดจักรวรรดิ กรุงเทพฯ, พระมหาวันดี วัดอุบลวนาราม นนทบุรี, พระศรีวชิรโมลี วัดเทวราชกุญชร กทม. หลวงปู่โถม วัดธรรมปัญญาราม สุโขทัย, พระราชภาวนาวิกรม วัดไตรมิตร กทม., หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง พัทลุง

12
หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดเม้าสุขา ชลบุรี, หลวงพ่อช่วง วัดควนปัญญาราม พัทลุง, หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม นครปฐม,
หลวงพ่อขาว วัดสาวชะโงก, หลวงพ่อป่วน วัดบรรหารแจ่มใส, พระครูภาวนาโสภณ วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี

13
พระครูพิพิธวิหารกิจ วัดโสธร ฉะเชิงเทรา, พระพิศาลวิหารกิจ(ประจวบ) วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.,
หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม, พระครูวิบูลธรรมานุกิจ วัดบางพลีใหญ่ใน สมุทรปราการ,
พระอาจารย์ไพรินทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตะ พิษณุโลก, พระครูไพโรจน์ วัดห้วยมงคล ประจวบคีรีขันธ์

14

พิธีเททองหลอมแผ่นยันต์ ซึ่งมีพระเกจิอาจารย์ 7 รูป ร่วมถือสายสิญจน์บริกรรมอธิษฐานจิต
มีรายนามดังนี้ (เรียงลำดับจากซ้าย->ขวา)
หลวงพ่อแขก วัดสุนทรประดิษฐ์ พิษณุโลก, หลวงปู่โถม วัดธรรมปัญญาราม สุโขทัย, หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดเม้าสุขา ชลบุรี,
หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา, หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี, หลวงปู่ทอง วัดสำเภาเชย ปัตตานี
และ พระราชภาวนาวิกรม วัดไตรมิตร กทม.15

พลเอก วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานในพิธี
พร้อมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และผู้ร่วมพิธีจำนวนมาก

รูปแบบ
ในแบบพิมพ์เดิมของเก่าซึ่งเป็นครั้งสำคัญในรอบหลายสิบปี อันเป็นรูปแบบมาตรฐาน และได้รับการยอมรับที่สุดของการจัด สร้างพระไพรีพินาศ

เนื้อหามวลสาร
เข้มข้นด้วยแผ่นยันต์รวมแล้วกว่า 1,000 แผ่น รวบรวมพระยันต์สำคัญในการหล่อพระกริ่ง-ชัยวัฒน์ ตลอดจนพระยันต์มงคลต่างๆ ลงจารอักขระโดยพระอาจารย์มหาวันดี เจ้าอาวาสวัดอุบลวนาราม จ.นนทบุรี ซึ่งลงอักขระเรียกสูตรยันต์ตามแบบโบราณโดยเฉพาะ “มหายันต์พันพระคาถา” การลงยันต์ในมณฑลพิธี ล้อมรอบด้วยสายสิญจน์เป็นรูปยันต์ เกราะเพชร มีพระเถระ อัญเชิญพระคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ตลอดเวลาระหว่างลงจารอักขระซึ่งปัจจุบันไม่มีที่ใดทำพิธีเช่นนี้อีกแล้ว โดยรวบรวมพระยันต์ทั้งหมดและชนวนมวลสารมงคลมาหลอมหล่อรวมเป็นชนวนที่วัดพระแก้วเพื่อนำไปหลอมรวมกับโลหะเพื่อสร้างเป็นองค์พระไพรีพินาศต่อไป
โลหะธาตุศักดิ์สิทธิ์
– เหล็กน้ำพี้ จากจังหวัดอุตรดิตถ์ บวงสรวงนำมาจัดสร้างพระไพรีพินาศ เป็นรุ่นแรกครั้งแรก ซึ่งโลหะธาตุเหล็กน้ำพี้มี
ความขลังศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองมีอานุภาพปกป้อง คุ้มครองกัน แก้สิ่งอัปมงคลทั้งปวง เป็นอำนาจตบะเดชะจึงเหมาะที่จะนำมาสร้างพระไพรีพินาศเป็นอย่างยิ่ง
– เนื้อสัตตโลหะ คือโลหะผสม 7 ชนิด
– เนื้อเหล็กน้ำพี้ คือโลหะผสม 9 ชนิดที่ใช้สร้างพระกริ่ง มีส่วนผสมของทองคำและเงินร่วมกับโลหะมงคลอีก 7 ชนิด
– เนื้ออัลปาก้า ออกสีขาวคล้ายสีของโลหะเงิน เป็นโลหะผสมอีกประเภทหนี่ง

พิธีกรรม
นับได้ว่าการจัดสร้างพระไพรีพินาศครั้งนี้ประกอบพิธีอย่างเพียบพร้อมสมบูรณ์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทุกขั้นตอน เน้นความ เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ทั้งพิธีกรรม และเนื้อหาเพื่อให้ผู้ที่นำไปบูชากราบไหว้ จะได้สิ่งที่เป็นมงคลอย่างแท้จริง ซึ่งจะมีคุณค่าต่อไปในภายภาคหน้า โดยพิธีมหาพุทธาภิเษกจะมีพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศจำนวน 108 องค์ นั้งปรก และพระสงฆ์ 108 รูปเจริญพระพุทธมนต์ธรรมจักรกัปวัฏณสูตร พระพิธีธรรม 4 ชุด สวดคาถาภาณวาร คาถาอิติปิโส รัตนมาลา คาถามหาจักรพรรดิ คาถาพุทธาภิเษก ตามแบบพิธีมหาจักรพรรดิพุทธาภิเษามณฑลพิธี ล้อมรอบด้วยผ้ายันต์ ์มหาจักรพรรดิ และเดินสายสิญจน์รูปตารางยันต์มหาจักรพรรดิ

พิธีมหาพุทธาภิเษก :
ภายในเดือนกรกฎาคม 2546
ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

พิธีสมโภช :
ปลายเดือนกรกฎาคม 2546
ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง