รายชื่อพระเกจิ พิธีมหาจักรพรรดิ์ ปี 2515 พิษณุโลก

เกจิคณาจารย์ปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคลพิธีมหาจักรพรรดิ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก 20 มกราคม พ.ศ.2515

พิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515

พิธีมหาจักรพรรดิ์ ปี 2515

พิธีจักรพรรดิ์ 20 มกราคม พ.ศ.2515 จัดขึ้น ณ วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก (pra.kruchamp.com)

เจ้าพิธี พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร

ประธานฝ่ายสงฆ์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) เป็นประธานจุดเทียนชัย

ประธานฝ่ายฆราวาส ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย

ประธานฝ่ายสงฆ์ดับเทียนชัย พระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลก

ประธานบริกรรมปลุกเสก พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี

รายนามพระเกจิ พิธีมหาจักรพรรดิ์ ปี 2515

พิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515

พระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก 109 รูป ดังรายนามด้านล่างนี้

พระครูวิริยะโสภิต (หลวงพ่อทอง) วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี
พระราชธรรมมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
พระครูจันทรโสภณ (หลวงพ่อนาค) วัดทัศนารุณสุนทริการาม กรุงเทพ
พระครูญาณวิลาศ (หลวงพ่อแดง) วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
พระครูภาวนาณุโยค (หลวงพ่อหอม) วัดชากหมาก จ.ระยอง
หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์
พระครูวิจิตนชัยการ (หลวงพ่อสด) วัดหางน้ำสาคร จ.ชัยนาท
พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
พระครูประดิษฐ์นวการ (หลวงพ่อบุญ) วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี
พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่ออยู่) วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
พระครูธรรมสาคร (หลวงพ่อกรับ) วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร
พระครูปัญญาโชติ (หลวงพ่อเจริญ) วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี
พระครูสนิทวิทยการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี
พระครูปิยธรรมภูสิต (หลวงพ่อคำ) วัดบำรุงธรรม จ.สระบุรี
พระครูกิตพิจารณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี
พระครูพุทธฉายาภิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
พระวินัยรักขิตาวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
พระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
พระครูอภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
พระครูกิตตินนทคุณ (หลวงพ่อกี๋) วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
พระอาจารย์สมภพ เตชปุญโญ วัดสาลีโข จ.นนทบุรี
พระครูประกาศสมาธิคุณ (หลวงพ่อสังเวียน) วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพ
พระเทพเจติยาจารย์ (อาจารย์วิริยัง) วัดธรรมมงคล กรุงเทพ
พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) (นิยม) วัดชนะสงคราม กรุงเทพ
หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
พระวิสุทธิรังษี (หลวงพ่อเปลี่ยน) วัดชัยชุมพลฯ (วัดใต้) จ.กาญจนบุรี
พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี
พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
พระอาจารย์ผ่อง (จินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพ
พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ (ครูบาใฝ) วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่
พระครูวิรุฬห์ธรรมโกวิทย์ (ครูบาสิงห์คำ) วัดเจดีย์สถาน จ.เชียงใหม่
พระครูมงคลคุณาธร วัดหม้อคำตวง จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสต๋อย จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง
หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จ.ลำปาง
พระครูสุเวทกิตติคุณ (หลวงพ่อบุญชุบ) วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง
หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
หลวงพ่อบุญสม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง
พระวิบูลวชิรธรรม (เจริญ) วัดท่าพุทรา (วัดคฤหบดีสงฆ์) จ.กำแพงเพชร
หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์
หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
พระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด) วัดจันเสน จ.นครสวรรค์
พระครูไพโรจน์อรัญญคุณ (หลวงพ่อคัด) วัดท่าโบสถ์ จ.ชัยนาท
หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท
พระครูสุจิตตานุรักษ์ (หลวงพ่อจวน) วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
พระครูสุวรรณสุตาคม (หลวงพ่อดวง) วัดทอง จ.สิงห์บุรี
พระครูอาทรสิกขการ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดสระเกศไชโย จ.อ่างทอง
พระครูสันทัศธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง จ.อยุธยา
พระครูประภาสธรรมคุณ (หลวงพ่อแจ่ม) วัดวังแดงเหนือ จ.อยุธยา
พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา
พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
พระครูวิเศษมงคลกิจ (หลวงพ่อมิ่ง) วัดกก กรุงเทพ
พระครูอนุกูลวิทยา (หลวงพ่อเส็ง) วัดน้อยนางหงส์ กรุงเทพ
พระครูพิริยกิจติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ
พระครูภาวณาภิรมย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพ
พระครูโสภณกัลป์ยานุวัฒน์ (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร กรุงเทพ
พระครูพินิจสมาจารย์ (หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม จ.ชลบุรี
พระครูภาวนาภิรัต (หลวงปู่ทิม อิสริโก) วัดละหารไร่ จ.ระยอง
พระครูวชิรรังสี วัดมฤคทายวัน จ.ประจวบคีรีขันธ์
พระครูวชิรคุณาญาณ วัดในกลาง จ.ประจวบคีรีขันธ์
พระครูสุทธาจารคุณ (หลวงพ่ออ่ำ อินฺทโชโต) วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
พระครูอุดมศีลจารย์ (พ่อท่านเย็น) วัดโคกสะท้อน จ.พัทลุง
พระครูพิศาลพัฒนกิจ (พ่อท่านพระครูปลัดบุญรอด) วัดประดู่พัฒนาราม จ.นครศรีธรรมราช
พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
พระครูพิพัฒน์สิริธร (หลวงพ่อคง สิริมโต) วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
หลวงปู่จันทร์ วัดสำราญ จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์
หลวงพ่อครูบาวัง พรหมเสโน วัดบ้านเด่น จ.ตาก
พระครูนันทิยคุณ (ครูบาตัน นนฺทิโย) วัดเชียงทอง จ.ตาก
หลวงพ่อเกตุ สุวรรโณ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย
พระครูสุวิชานวรวุฒิ (หลวงพ่อปี้) วัดบ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
พระครูคีรีมาสธรรมคุณ วัดวาลุการาม จ.สุโขทัย
พระครูพิลาศธรรมคุณ (หลวงปู่โถม) วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย
พระครูไกรลาศสมานคุณ (หลวงพ่อย่น) วัดกงไกรลาศ จ.สุโขทัย
พระอาจารย์พวง วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร จ.สุโขทัย
พระอาจารย์ฉลอง วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร จ.สุโขทัย
พระครูพินิจธรรมภาณ (สมจิตร) วัดวังแดง จ.พิจิตร
พระครูพิมลธรรมานุศิษฐ์ (หลวงพ่อขวัญ) วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร
พระอาจารย์ชัย วัดกลาง จ.อุตรดิตถ์
หลวงพ่อบุญ อุตตโม วัดน้ำใส จ.อุตรดิตถ์
พระครูนวการโฆษิต (หลวงพ่อจันทร์) วัดหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์
พระพิษณุบุราจารย์ (แพ พากุโล) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนี วัดอรัญญิก) หลวงตาละมัย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก
พระครูอภัยจริยาภิรมณ์ วัดใหม่อภัยยาราม จ.พิษณุโลก
พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว จ.พิษณุโลก
พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
พระครูประภาสธรรมมาภรณ์ (หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก
พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไช่) วัดศรีรัตนาราม จ.พิษณุโลก
หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
หลวงพ่อเฉลิม วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ จ.พิษณุโลก
พระอาจารย์โต วัดสมอแข จ.พิษณุโลก
พระครูประพันธ์ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน จ.พิษณุโลก
พระครูวิจารณ์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทอง จ.พิษณุโลก
พระอาจารย์นวล วัดนิมิตธรรมาราม จ.พิษณุโลก
พระอาจารย์ธงชัย วัดวชิรธรรมราชา จ.พิษณุโลก
พระราชมุนี (โฮม) วัดสระปทุม กรุงเทพ

พิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515

พิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515

พิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515

พิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515

พิธีวัดสุนทรประดิษฐ์ ปี 2534 พิธีใหญ่

พิธีพุทธาภิเษก วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2534 ณ วัดสุนทรประดิษฐ์

โดยมีพระคณาจารย์ 21 รูปร่วมอธิษฐานจิต ดังรายนามต่อไปนี้

1. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

2. หลงพ่อเปิ่น วัดบางพระ

3. หลวงพ่อห้อม วัดคูหาสรรค์

4. หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญ

5. หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน

6. หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง

7. หลวงปู่ดี วัดพระรูป

8. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม

9. หลวงพิมพา วัดหนองตางู

10. หลวงพ่อช่อ(ฤาษีลิงขาว) วัดฤกษ์บุญมี

11. หลวงปู่มี วัดมารวิชัย

12. หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน

13. หลวงพ่อมหาพันธ์ วัดเนรมิตรวิปัสสนา

14. หลวงพ่อจิตร วัดวังแดง

15. หลวงพ่อโถม วัดธรรมปัญญาราม

16. หลวงพ่อเจ๊ก วัดระนาม

17. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดชากนิมิตวิทยา

18. หลวงตาละมัย วัดอรัญญิก

19. หลวงพ่อตุ๊เจ้าป่า วัดรวมเทพ

20. หลวงพ่อบุญจันทร์ วัดในห้วย

21. หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์

ประสบการณ์หลวงปู่แขก มาฆบูชา 2561

#บันทึกประสบการณ์วันมาฆบูชา2561

(เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นของผู้เขียนเกี่ยวกับหลวงปู่แขก ปภาโส วัดสุนทรประดิษฐ์ ไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ทั้งหมด หรือบางส่วน ในรูปแบบของข้อความ สื่อดิจิทัล เพื่อป้องกันไม่ให้นำไปใช้ของกลุ่มพุทธพาณิชย์เหมือนบทความเดิมอันไม่ได้เกิดจากความศรัทธาอย่างแท้จริง)

ในวันที่ 1 มี.ค. 2561 ซึ่งเป็นวันหยุดวันมาฆบูชา ผมได้ขี่จักรยานยนต์ไปทำบุญที่วัดสุนทรประดิษฐ์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระรัตนตรัยและอุทิศให้เทวดารักษาตัวของบิดามารดา ทุกครั้งที่ไปที่วัดก็จะได้รับความรู้สึกสบายใจ เพราะเหมือนได้อยู่ใกล้ญาติผู้ใหญ่ที่คอยปกป้องดูแล

เมื่อไปถึง ได้นำอาหารไปถวายหลวงตาไหว (พระครูประสาธท์ธรรมคุณ) ก็ได้ไปดูที่กุฏิของหลวงปู่แขก (ท่านเจ้าคุณพระมงคลสุธี) พบว่าหลวงปู่เพิ่งฉันอาหารเสร็จพอดี จึงขอโอกาสบีบนวดปรนบัติรับใช้ตามวาระ เมื่อนั่งคุยนั่งนวดไปสักพัก หลวงปู่บอกว่าเดี๋ยวจะเข้าที่นั่ง แล้วท่านก็ลุกไปกราบพระ ผมก็เปิดพัดลมตัวที่อยู่ใกล้ๆแต่ก็ไม่ทำงาน ด้วยความกลัวว่าจะมายุงมากัดหลวงปู่ จึงได้หาสิ่งของมาพัดให้กลวงปู่เบาๆ

ในขณะที่นี่นังพัดวีให้หลวงปู่ แว๊บหนึ่งของความคิดอยากจะขอบารมีของพ่อแม่ครูอาจารย์เข้ามาในตัวเราบ้าง จึงขออาราธนาบารมีหลวงปู่ แล้วจับตรงปลายชายสังฆาฏิด้านหลังของหลวงปู่โดยท่องอาราธนานังไว้ตลอด

ผมไม่รู้ว่าจะเรียกสิ่งนี้ว่าอย่างไร แต่สิงที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นก็สร้างความรู้สึกฉงนใจ เพราะปลายนิ้วที่สัมผัสกับชายผ้าสังฆาฏิรู้สึกเหมือนเราจับชีพจรคนอื่นที่ข้อมือ รู้สึกเลยว่า หนึบ หนึบ มันชีพจรที่เต้นเป็นจังหวะชัดๆ ขณะนั้นไม่ได้สัมผัสตัวของหลวงปู่เลย

ขอบันทึกไว้เพื่อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นส่วนบุคคล ไม่ได้อ้างอิงถึงอิทธิปาฏิหาริย์ใดๆ เพราะทุกครั้งที่พูดคุยกับหลวงปู่ ท่านจะสอนหลักธรรมะโดยตลอดไม่พูดถึงเรื่องปาฏิหาริย์ และเมื่อมีใครมาเล่าประสบการณ์ ท่านก็จะยิ้มๆแล้วก็อธิบายตามหลักธรรมของพระพุทธองค์

พิริยะ ตระกูลสว่าง
2 มีนาคม 2561

ข่าวหลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ รุ่น “อายุยืน”

เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน ได้รับข้อมูลจากคุณสุเมธ ธนะชัย ว่าได้รับภาพข่าวจากคณะกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่แขก ปภาโส วัดสุนทรประดิษฐ์เกี่ยวกับพิธีพุทธาภิเษก และการมอบรายได้ปัจจัยให้กับโรงพยาบาลบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

กราบอนุโมทนาบุญครับ

ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่แขกอีกครั้งหนึ่ง

วันนี้หลังจากที่ได้เดินสำรวจข้อมูลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจนเกือบครบแล้ว ตอนเช้ายังไม่มีชั่วโมงสอน เลยทำเรื่องขอออกนอกโรงเรียนไปทำธุระส่วนตัว จากนั้นก็แวะไปกราบหลวงปู่แขกที่วัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ

ไปนั่งรอสักพัก อ.สุเมธก็มาถึง จากนั้น นั่งรอหลวงปู่ออกจากกุฏิ
วันนั้นมีเจ้าหน้าที่ของที่ดินจังหวัดมาถวายสังฆทานด้วย เลยรอให้เค้าทำธุระกันก่อน

เมื่อถึงคิวผม ผมก็กราบขอเมตตาหลวงปู่ จารพระพุทธชินราชยอดธง รุ่น เสาร์ห้า (ปี 2553) หลวงปู่ก็เมตตาจารให้ 2 ตัว (ตัวอุ และนะมหาอำนาจ)และเป่าอัดพลังพวงยาวๆอีกครั้ง

แล้วก็มีลุงอีกคนหนึ่ง นำหลวงพ่อเงินที่แกะจากงามาให้หลวงปู่จารและเป่าให้

จากนั้นมีพี่สาวท่านหนึ่งขอเมตตาหลวงปู่ลงแป้งให้ หลวงปู่ก็ลงให้

หลวงปู่เมตตาสูงสุดยอดจริงๆครับ

หลวงปู่รอด ฐิตฺวิริโย วัดสันติกาวาส

พระครูสถิตวีรธรรม

lprod

……………ผู้สืบทอดพุทธาคม จากหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ผู้เป็นศิษย์สืบสายพุทธาคมจาก หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น เทพเจ้าแห่งปากน้ำโพ ที่ยังดำรงชีพอยู่และมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วนั่นก็คือ พระครูสถิตวีรธรรม หรือ หลวงปู่รอด และที่เรียกขานกันด้วยความเคารพว่า หลวงพ่อเสือ ปัจจุบันอายุ 83 ปี พรรษา 63 ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม และเจ้าอาวาสวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก หลวงปู่รอด ชื่อเดิมว่า บุญรอด แจ่มจุ้ย เป็นบุตรของ นาย เพชร และ นางบุญมา นามสกุล แจ่มจุ้ย ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พงศ. 2464 ณ. บ้านโคน ต.พญาปั่นแดน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ หลวงปู่รอดได้ใช้ชีวิตเติบโตและร่ำเรียนวิชาความรู้ที่ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ครั้นอายุได้ 14 ปี ได้ย้ายบ้านปอยู่ที่ บ้านป่ามะม่วง อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย รวม ระยะเวลา 3 ปี จากนั้นจึงย้อนกลับไปอยู่ที่บ้านโคนซึ่งเป็นถิ่นกำเนิด? ?? ?? ?กระทั่งอายุ 21 ปี จึงได้หันเหชีวิตเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยการอุปสมบท เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2485 ที่วัดเชิงหวาย ต.ตลุกเทียม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก โดยมี พระครูญาณปรีชา วัดดอกไม้ ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิกาหาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ เจ้าอธิการพวง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้ฉายาว่า ฐิตฺวิริโย พักจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงหวายเป็นเวลา 2 พรรษา จำนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่วัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

……………ความรู้ทางธรรม ปี พงศ. 2489 สามารถสอบไล่ได้นักธรรมโท สำนักวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณูโลก ซึ่งท่านมีความชำนาญทางด้านเทศนาธรรม การบรรยายธรรม การปาฐกถาธรรม วิปัสสากรรมฐาน และ การก่อสร้าง(นวกรรม) มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการเขียนและอ่านอักขระขอม หน้าที่การงานที่ได้รับพ.ศ. 2489 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวันสันติกาวาส พ.ศ. 2491 เป็นพระกรรรมวาจาจารย์ พ.ศ. 2493 เป็นเจ้าคณะตำบลวงฆ้อง พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการสงฆ์ฝ่ายสาธารณูปาการ อำเภอพรหมพิรามพ.ศ. 2489-2499 เป็ฯผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม??พ.ศ. 2509 เป็นพระอุปัชฌาย์??พ.ศ. 2510 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม??พ.ศ. 2520 เป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม??พ.ศ. 2544 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอต่อไปอีก 3 ปี เรื่องราวชีวิต พระดีศรีพรหมพิราม พระครูสถิตวีรธรรม หรือหลวงปู่รอด ฐิตฺวิริโย เจ้าอาวาสวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ท่านมีชีวิตที่น่าศึกษามิใช่น้อย? ?? ?? ?เมื่อครั้งยังเป็นฆราวาสท่านได้ชื่อว่าเป็น ลูกผู้ชายตัวจริง คนหนึ่งทีเดียว ท่านไม่ใช่นักเลง เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ แต่ก็อยู่ท่ามกลางหมู่นักเลงหลายก๊กหลายเหล่า เลยทำให้ชีวิตกล้าแกร่ง ค่อนข้างใจร้อน ใครพูดแสลงหูก็มีอารมณ์เหมือนกัน ถึงขนาดเคยมีเรื่องฟันแทงเกือบติดคุกทีเดียว แม้กระทั่งตอนจะบวชก็ยังมีมารมาผจญ แต่ด้วยจิตใจที่หนักแน่น และไม่ยอมใครถ้าหากไม่มีเหตุผล ท่านจึงผ่านพ้นวิกฤติชีวิตที่น่าหวาดเสียวมาได้เสมอ? ?? ?? ? อำเภอพรหมพิรามสมัยก่อน เป็นศูนย์รวมของบรรดาโจรผู้ร้าย มีทั้งเสือที่เป็นสัตว์และไอ้เสือที่เป็นคนเยอะแยะไปหมด เสือหลวย เป็นเสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด นอกจากนี้ก็มี เสือเสงี่ยม,เสือดำ,เสือม้วน ซึ่งส่วนใหญ๋จะเป็น เสือต่างถิ่น เสียมากกว่า หลงปู่รอดเล่าให้ฟังว่า มีเสืออยู่คนหนึ่งเมื่อมันชอบลูกสาวบ้านใด มันก็จะถือเหล้าขวดเดียวเข้าไปสู่ขอเอาดื้อ ๆ เวลาขึ้นบ้านไหนมันก็จะพูดว่า พ่อแม่มารับไหว้เดี๋ยวนี้ กินเหล้าแล้วผมขอลูกสาวไปเลยนะ โยมพ่อของหลวงปู่รอดเป็นคนที่มีวิชา แต่ท่านไม่ค่อยสนใจสักเท่าไร จนกระทั่งบวช เมื่อได้พบเจอเหตุการณ์ไอ้เสือปล้นต่าง ๆ ก็เลนขอรับการถ่ายทอดวิชาจากโยมพ่อเพื่อไว้ป้องกันตัว และช่วยเหลือคนอื่น??ลูกสาวชาวบ้านที่ถูกฉุดไป หลวงปู่รอดได้เมตตาตามไปช่วยกลับคืนมาได้เกือบหมด โดยไม่กลัวพวกเสือแต่อย่างใด เพราะสมัยนั้นพวกเสือต่าง ๆ ต้องมาพึ่งบารมีพ่อ ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณประจำตำบล ตกคืนนั้นพวกเสือมันมาตามคืน ท่านกำลังท่องหนังสืออยู่ได้ยินเสียงลั่นไกปืน 2-3 ครั้ง พอรู้ว่าถูกลอบยิงก็รีบวิ่งเข้ากุฏิไปคว้าขวานออกมา พร้อมตะโกนท้าพวกมันให้ออกมาฟันกันซึ่ง ๆ หน้า แต่มันก็ไม่กล้าและล่าถอยไป ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น ท่านยังมานั่งคิดว่า เป็นเรื่องแปลกดีที่ยิงไม่ออก

……………ช่วงหนึ่งหลวงปู่รอดเคยคิดจะย้ายไปจำพรรษาที่อื่น เพราะพวกนักเลงเยอะ มีทั้งลักขโมย ปล้นสะดม และฆ่ากัน พระหลายรูปทนไม่ได้ต้องสึกออกไปเพราะความกลัว ตัวท่านเองตั้งใจจะเข้าไปเรียนบาลีที่กรุงเทพ ฯ แต่ญาติโยมไม่ยอมให้ไป ถึงขนาดนิมนต์เจ้าคณะตำบลละเจ้าคณะอำเภอมาช่วยอ้อนวอนไว้ จึงตัดสินใจอยู่ต่อมาจนถึงทุกวันนี้? ?? ?? ? เดิมทีหลวงปู่รอดท่านตั้งใจจะบวชเพียง 3 พรรษา แต่ด้วยจิตยึดมั่นในทางธรรมก็ล่วงเลยไปถึงพรรษาที่ 9 และคิดจะลาสิขา แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะจิตใจอุทิศให้พระศาสนา อย่างเต็มเปี่ยม จนปัจจุบันย่างข้า 63 พรรษาแล้ว ตลอด 62 พรรษาที่ผ่านมา แทบจะกล่าวได้ว่าท่านไม่เคยหยุดนิ่ง เริ่มการสร้างวัดสันติกาวาสจากสภาพวัดร้างให้พลิกฟื้นคืนความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ซึ่งต้องใช้ความสามารถในการเรียกความศรัทธาชาวบ้านอย่างสูง แต่ด้วยความเป็นคนจริงบวกกับการประพฤติปฏิบัติตนที่ทำให้ผู้คนเกิดความเคารพเลื่อมใส เพียงไม่นานก็ทำให้วัดสันติกาวาส สมบูรณ์ทั้งด้านเสนาสนะ และศาสนวัตถุต่าง ๆ นอกจากนี้ หลวงปู่รอดยังได้ใช้วิชาความรู้มาช่วยสงเคราะห์ผู้ที่ประสบทุกข์ร้อนทั้งร่างกาย และ จิตใจ อาทิ การเป่าหัว-เสกยารักษาโรค การดูดวง ซึ่งวิชาเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วท่านจะเรียนรู้ด้วยตนเองจากตำรับตำราเก่า ๆ ในช่วงที่ท่านได้อยู่รับใช้หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพนั้น ก็ได้รัยการถ่ายทอด คาถารอบโลก ซึ่งเป็นคาถาที่หลวงพ่อเดิมท่านใช้ประจำตัว ไม่ว่าจะการพรมน้ำมนต์ หรือการปลุกเสกวัตถุมงคล โดยหลวงปู่รอดได้นำมาใช้เป็นคาถาประจำตัวเช่นกัน ซึ่งพระคาถานี้มีด้วยกัน 7 บท อาทิ คาถาหายตัว,คาถามหานิยม,คาถาคงกระพันชาตรี ฯลฯ? ???นอกจากเป็นเพราะท่านมีวิชาอาคมขลังแล้ว ยังมาจากชื่ออันเป็นมงคลนามว่า รอด ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้รอดพ้นจากเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ จากร้ายกลายเป็นดี แต่ท่านก็มักเตือนสติลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอว่า ใครที่มีวัตถุมงคลของท่านแล้วจะให้รอดเหมือนชื่อนั้นจะให้รอดทุกคนเป็นไปไม่ได้ เพราะเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งคู่กับมนุษย์ทุกคนไม่มีทางหนีความตายไปได้ จะตายช้าตายเร็ว ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่างรวมกัน

……………ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน หลวงปู่รอดอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลหลายรุ่นหลายแบบด้วยกัน อาทิ จัดสร้างขึ้นในโอกาสจัดงานฉลองอายุครบ 7 รอบ 84 ปี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548

……………แม้ว่าอายุท่านจะล่วงเลยเข้าสู่วัยชราแล้ว แต่กิจนิมนต์ของท่านแทบจะไม่มีวันเว้นว่าง

……………ต่อมา หลวงปู่รอด เข้าโรงพยาบาลพรหมพิราม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เนื่องจากมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ส่วนหนึ่งมาจากกิจนิมนต์ที่หลวงปู่ไม่เคยปฏิเสธ

……………ทุกวันท่านจะต้องเดินทางไกล เพื่อไปร่วมในพิธีซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการอธิษฐานจิต ปลุกเสกวัตถุมงคล ด้วยท่านเป็นพระเกจิที่ได้รับความศรัทธา แต่ด้วยอายุที่มาก การพักผ่อนน้อย ทำให้ล้มป่วยอาพาธลง

……………แม้คณะศิษย์จะขอร้องให้ท่านงดรับกิจนิมนต์ แต่ท่านก็บอกว่า “เขามาเพราะเขาเชื่อมั่นศรัทธาจะปฏิเสธเขาได้อย่างไร”

หลังเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพรหมพิรามได้ 3 วัน อาการหลวงปู่รอดทรุดหนักลง จึงส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพุทธชินราช โดยคณะแพทย์ได้พยายามรักษาอาการอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้

……………ในที่สุด หลวงปู่รอด ได้ละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 สิริอายุ 87 พรรษา 67

สร้างความอาลัยให้กับคณะศิษย์และชาวเมืองสองแควเป็นอย่างยิ่ง

ข้อมูลจาก คุณสุเมธ ธนะชัย