Home รวมสาระวงการครู The special relationship between the Thai people and King Bhumibol Adulyadej

Newsflash

“…… ผู้ที่เป็น ครู จะต้องนึกถึงความรับผิดชอบ เพราะว่าถ้าเป็นครูแล้ว ลูกศิษย์จะต้องนับถือได้ ต้องวางตัวให้เหมาะสมกับที่เป็นครู ไม่ใช่วางตัวอย่างหนึ่งแล้วมาสอนอีกอย่างหนึ่ง ….”


พระราชดำรัส พระราชทานเนื่องในวันการศึกษาสัมพันธ์ ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๒

The special relationship between the Thai people and King Bhumibol Adulyadej PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูแชมป์   
วันพฤหัสบดีที่ 03 พฤศจิกายน 2016 เวลา 17:29 น.

คุณสมเถา สุจริตกุล เขียน
คุณถ่ายเถา สุจริตกุล แปลและเรียบเรียง

ขออนุญาตนำมารวมกัน ทั้งต้นฉบับภาษาอังกฤษและบทแปลภาษาไทย

From SOMTOW SUCHARITKUL  to his non-Thai friends:

"As a Thai who has lived most of his life abroad, I’m often called upon to explain to foreigners what appears inexplicable and anomalous — the special relationship between the Thai people and King Bhumibol Adulyadej. In the rest of the world, there seem to be two kinds of monarchs: those with absolute power, and those whose function is ceremonial and symbolic. Our king fell into neither of those categories because on the one hand, he did not wield political power, yet on the other, he possessed a moral authority more powerful than that of any government this country ever had; he was literally the fabric that held this country together, the living embodiment of this country’s identity.

Because this relationship has been unique in modern monarchies, it’s been hard to explain it to those who have not experienced it themselves. What I tell my international friends is that they’re wrong if they believe this is only to do with the force of tradition, or with some kind of prescribed “godlike” status.

Our king grew up in what could be called “ordinary” circumstances — going to school in Switzerland with normal children, being raised by a loving and resourceful mother, never being “groomed” for the role of a “demigod.” But it is precisely because he could remember what it is like to be an “ordinary” person that he achieved such extraordinary things. It is because he could look ordinary people in the eye and understand their lives, their struggles and concerns, could truly empathize with them, that he inspired this level of love and devotion and reverence.

In the end it was not his exalted status that commanded this all this love — it was he himself — his actions, his selflessness, his heart.

There is tremendous sadness in this country today, but, with the inspiration of our King’s life and deeds, I hope that from this sadness will come other things; gratitude for the past seventy years; love for this magical kingdom that has survived so much and come so far in those seventy years … and a continued sense of unity and identity that will keep this kingdom safe and allow it to progress confidently into the future."



จาก สมเถา สุจริตกุล ถึงเพื่อนต่างชาติ
แปลและเรียบเรียงโดย ถ่ายเถา สุจริตกุล

ในฐานะที่ผมเป็นคนไทยที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในต่างแดน  ผมจึงถูกชาวต่างชาติตั้งคำถามบ่อยครั้งถึงเรื่องที่ผิดแปลกและยากที่จะอธิบาย – เรื่องความสัมพันธ์พิเศษระหว่างคนไทยกับพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ในสายตาของชาวโลก กษัตริย์มีอยู่สองประเภท คือผู้ที่มีอำนาจสูงสุดโดยไม่มีเงื่อนใข หรือไม่ก็ผู้มีภารกิจแบบพิธีการหรือเป็นสัญญลักษณ์ดั้งเดิม  แต่พระเจ้าอยู่หัวของเราไม่ได้อยู่ในสองประเภทนี้  พระองค์ไม่มีอำนาจทางการเมือง แต่ทรงมีพระราชอำนาจทางศีลธรรมที่ยิ่งใหญ่กว่ารัฐบาลทุกคณะที่บ้านเมืองของเราเคยมี  พระองค์คือผืนผ้าที่ห่อหุ้มไทยทั้งชาติไว้ให้เป็นศูนย์รวมอัตลักษณ์ของประเทศ

เนื่องจากความสัมพันธ์นี้เป็นหนึ่งเดียวที่พิเศษสุดของสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบัน  จึงเป็นการยากที่จะอธิบายให้ผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ของตัวเอง  ผมได้แต่บอกชาวต่างชาติว่า  พวกเขาผิด ถ้าคิดว่ากษัตริย์เป็นเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณี หรือสถานะภาพที่เท่าเทียมเทพเจ้า

ในหลวงของเราเติบโตแบบธรรมดา  ไปโรงเรียนที่สวิตเซอร์แลนด์กับเด็กธรรมดา  มีแม่ผู้รอบรู้เลี้ยงดูด้วยความรัก  พระองค์ไม่เคยถูกขัดเกลาหล่อหลอมให้เป็น “กึ่งเทพเจ้า” การที่ในหลวงของเราสามารถจดจำการใช้ชีวิตแบบธรรมดาสามัญ  ทำให้พระองค์ท่านบรรลุผลที่ประเสริฐสุด  เพราะพระองค์สามารถมองตาประชาชนคนธรรมดาด้วยความเข้าใจชีวิตของพวกเขา  มองเห็นการดิ้นรนและความวิตกกังวล  ความเห็นอกเห็นใจอย่างลึกซึ้งคือแรงบันดาลให้พสกนิกรรักและภักดีในหลวงอย่างมอบกายถวายชีวิต

ไม่ใช่เพราะสถานะความเป็นกษัติรย์ที่ทำให้ในหลวงของเราได้รับความรักและเทิดทูนบูชา  แต่เป็นเพราะพระองค์เอง  สิ่งที่พระองค์ทำ ความไม่เห็นแก่ตัวและหัวใจของพระองค์  วันนี้ทั้งประเทศมีแต่ความโศกเศร้า  แต่ด้วยแรงบันดาลจากชีวิตและสิ่งที่พระองค์ทำ  ผมหวังว่าความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่นี้จะนำมาซึ่งความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณลันเกล้าฯ ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา  ความรักของเราที่มอบให้ราชอาณาจักรวิเศษซึ่งอยู่รอดและก้าวไกลมาถึงจุดนี้ภายใน 70 ปี  และความรู้สำนึกในความเป็นเอกภาพและเอกลักษณ์ซึ่งจะทำให้อาณาจักรของเรารอดพ้นผองภัยและเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคตด้วยความมั่นใจ

..........................................................................................................................

ขอบคุณครับ

ครูแชมป์ พิริยะ


แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 03 พฤศจิกายน 2016 เวลา 17:35 น.