Currently browsing category

ข่าวสถานการณ์หุ้น

เขาจะทำสงครามกันไหม ตอนที่ 5/5 : อย่ารบเลย อรชุน

เขาจะทำสงครามกันไหม ตอนที่ 5/5 : อย่ารบเลย อรชุน —————————————————————— หากผู้มีอำนาจเชื่อว่าการใช้นโยบายการคลังผ่านการเพิ่มงบประมาณป้องกันประเทศ จะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ คำถามก็คือ มันจะจุดประกายให้เกิดสงครามระหว่างประเทศได้หรือไม่ โชคดี ที่นักเศรษฐศาสตร์หลายราย มีมุมมองที่แตกต่างไป เขามองว่าสงครามไม่ได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ใดๆ ต่อเศรษฐกิจเลย เพราะหากย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 1990 จะพบว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ รุ่งเรืองด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ย 4% ต่อปี อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 4% อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำที่ 3.5% ซึ่งความรุ่งเรืองนั้นไม่ได้เกิดจากสงคราม ส่วนงบประมาณรายจ่ายป้องกันประเทศที่เพิ่มขึ้นในช่วงสงครามก็อาจไม่ทำให้มีการจ้างงานในประเทศเพิ่มขึ้น – สงครามอิรัก-อัฟกานิสถาน ในช่วงทศวรรษ 2000s นั้น การเพิ่มขึ้นของงบประมาณไม่ได้ทำให้อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ลดลงเลย – สงครามอ่าว (Gulf War) ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างอิรัก กับกองกำลังผสม 34 ชาติภายใต้ UN ซึ่งนำโดยสหรัฐฯ กลับเป็นเหตุให้ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตกต่ำในภายหลัง – ในสงครามเวียดนาม เราก็ไม่อาจสรุปได้ว่าก่อให้เกิดผลดีหรือเสียต่อเศรษฐกิจ …

เขาจะทำสงครามกันไหม ตอนที่ 4/5 : ทำสงครามแล้วเศรษฐกิจจะฟื้น

เขาจะทำสงครามกันไหม ตอนที่ 4/5 : ทำสงครามแล้วเศรษฐกิจจะฟื้น ———————————————————————————- เชื่อหรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์บางกลุ่มกล่าวว่า “สงครามนั้นดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม” หรือแม้แต่กล่าวว่า “สงครามคือสิ่งจำเป็นสำหรับเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม” คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ต่างอ้างถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากในช่วงทศวรรษ 1930 ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับภาวะตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ที่เศรษฐกิจถดถอยยาวนานและหยั่งรากลึกกวาครั้งไหนๆ แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เพิ่มงบประมาณรายจ่ายเพื่อป้องกันประเทศสูงถึง 6 เท่าของงบประมาณเดิม ขณะที่การบริโภคในประเทศและการลงทุนต่างก็ไม่ได้หดตัวรุนแรงนัก ส่งผลให้ GDP สหรัฐฯ ขยายตัวได้อย่างโดดเด่นในช่วงนั้น ด้วยเหตุนี้เอง นักเศรษฐศาสตร์หลายรายจึงมองว่า สงครามมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้หลุดพ้นจากภาวะตกต่ำรุนแรงที่ยืดเยื้อมาร่วมสิบปี ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) ของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะหมวดสินค้าคงทน พุ่งขึ้นแตะ 100% ช่วยกระตุ้นการจ้างงานในประเทศ สร้างรายได้ให้กับประชาชน และส่งผลให้โมเมนตัมการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลับมาเร่งตัวขึ้นในที่สุด ที่น่าคิดก็คือ …

เขาจะทำสงครามกันไหม ตอนที่ 3/5 : ทรัมป์จะเอายังไง

เขาจะทำสงครามกันไหม ตอนที่ 3/5 : ทรัมป์จะเอายังไง —————————————————————— เรามองว่า นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ น่าจะมีรูปร่างที่แตกต่างออกไปหลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ 20 มกราคม ปีหน้า ที่ผ่านมานั้น ทรัมป์เน้นย้ำเสมอว่า “สหรัฐฯ ต้องมาก่อน” (America First) สะท้อนว่าเขาอาจถอนกองกำลังออกจากประเทศพันธมิตรและระงับสนธิสัญญาความมั่นคงบางอย่างเพื่อลดค่าใช้จ่ายทางการทหารในต่างประเทศ และจะส่งกำลังทหารไปต่างประเทศเมื่อจะเกิดประโยชน์ต่อสหรัฐฯ เท่านั้น เช่น – หากมีการบุกรุกโจมตีจากรัสเซีย สหรัฐฯ อาจไม่ส่งกองกำลังไปป้องกันประเทศทะเลบอลติกที่เป็นสมาชิกของนาโต หากประเทศเหล่านั้นไม่ยอมลงทุนเพื่อปกป้องตนเองด้วย – อาจระงับสนธิสัญญาความมั่นคงกับญี่ปุ่น เนื่องจากเห็นว่าสหรัฐฯ กำลังถูกญี่ปุ่นเอาเปรียบด้านค่าใช้จ่ายการทหาร . เมื่อนโยบายของประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ เป็นเช่นนี้ ความขัดแย้งทางการทหารระหว่างสหรัฐฯ กับ จีนและรัสเซีย จึงมีแนวโน้มผ่อนคลายลง อย่างไรก็ดี ถ้าสหรัฐฯ ลดความร่วมมือทางการทหารกับประเทศพันธมิตรทั่วโลกลง ก็อาจทำให้ จีนกับรัสเซีย เข้ามามีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น . โดย …

เขาจะทำสงครามกันไหม ตอนที่ 2/5 : สงครามในทะเลจีนใต้

เขาจะทำสงครามกันไหม ตอนที่ 2/5 : สงครามในทะเลจีนใต้ ———————————————————————– ประเด็นที่น่าจับตาสำหรับข้อพิพาทในทะเลจีนใต้คือการที่สหรัฐฯ เข้ามาแทรกแซง ในช่วงแรก สหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ได้ร่วมมือกันซ้อมรบบริเวณอ่าวอูลูกันของฟิลิปปินส์ ซึ่งอยู่ห่างจากทะเลจีนใต้ไม่มากนัก ขณะที่จีนซ้อมรบร่วมกับรัสเซียบริเวณทะเลเหลือง ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของจีน แต่หลังจากฟิลิปปินส์มีปัญหากับสหรัฐฯ ในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ ประกาศยกเลิกการซ้อมรบในทะเลจีนใต้ร่วมกันไปก่อน ส่วนการซ้อมรบของรัสเซียกับจีนยังคงดำเนินต่อไป โดยล่าสุดมีการซ้อมรบร่วมกันในทะเลจีนใต้เมื่อวันที่ 12-19 ก.ย. 2559 ภายใต้ปฏิบัติการ “Joint Sea-2016” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารัสเซียพร้อมที่จะสนับสนุนจีนหากเกิดสงครามขึ้น ทั้งนี้ การทำสงครามตัวแทน หรือ Proxy War โดยประเทศมหาอำนาจที่สนับสนุนให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทำสงครามแทนนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การสะสมอาวุธของแต่ละประเทศ จนเกิดสงครามอย่างเต็มรูปแบบในที่สุด ล่าสุดรัสเซียก็เพิ่งประกาศยกเลิกสัญญาควบคุมการสะสมสารกัมมันตรังสีพลูโตเนียมกับสหรัฐฯ ไปแล้ว . โดย ฐนิตา ตุมราศวิน / ณัฐพัช กิตติปวณิชย์ (ทีมจัดการกองทุน บลจ.บัวหลวง) 10 พฤศจิกายน 2559   …

เขาจะทำสงครามกันไหม ตอนที่ 1/5 : พื้นที่ขัดแย้งในปัจจุบัน

เขาจะทำสงครามกันไหม ตอนที่ 1/5 : พื้นที่ขัดแย้งในปัจจุบัน ———————————————————————— ในยุคนี้ กระแสความขัดแย้งระหว่างประเทศเริ่มเด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะระหว่างประเทศมหาอำนาจของโลกอย่าง สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน ผ่านการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น – การรับกลุ่มประเทศทะเลบอลติก (ลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย) ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต เข้าเป็นสมาชิกพันธมิตรทางทหารขององค์การนาโตที่ประกอบด้วย สหรัฐฯ แคนาดา และประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปในปี 2004 – การติดตั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ ในโปแลนด์ซึ่งอยู่ใกล้กับรัสเซียในปี 2008 ที่ทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับชาติตะวันตกเปราะบางลงเรื่อยๆ จนรัสเซียได้เข้าแทรกแซงและควบคุมแคว้นไครเมียในปี 2014 (แคว้นไครเมียเคยเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน) นำไปสู่การร่วมมือกันคว่ำบาตรจากนานาชาติ – และล่าสุด รัสเซียก็กำลังถูกหลายประเทศประณาม หลังจากมีรายงานระบุว่ารัสเซียให้การสนับสนุนรัฐบาลซีเรียโจมตีฐานที่มั่นฝ่ายกบฏในเมืองอเลปโปของซีเรีย ส่งผลให้มีประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก – ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ที่ยืดเยื้อมายาวนาน จนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนที่มีรัสเซียหนุนหลัง กับสหรัฐฯ เนื่องจากแต่ละประเทศรอบๆ ต่างก็อ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะหมู่เกาะ Spratly อันเป็นแหล่งที่น่าจะมีก๊าซธรรมชาติและน้ำมันมหาศาล เรื่องนี้แม้ศาลโลกจะเพิ่งตัดสินไปว่าจีนละเมิดสิทธิเหนือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive …

FTSE มีการประกาศทบทวนดัชนีรอบใหม่

FTSE มีการประกาศทบทวนดัชนีรอบใหม่ : ซึ่งพบว่ารอบนี้หุ้นไทยถูกเพิ่มน้ำหนักใน FTSE-ALL World จาก 0.25% สู่ 0.36% หรือเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยใน FTSE EM จาก 2.78% สู่ 3.93% หรือคิดเป็นเม็ดเงินไหลเข้าสูงราว 1.36พันล้านเหรียญฯ หรือราว 4.7หมื่นล้านบาท โดยรายละเอียดของการ Rebalance ที่จะมีผลวันที่ 16 กย 2016 มีดังนี้ 1) FTSE Large Cap: เข้า SCC (NVDR), KBANK (NVDR) / ออก ไม่มี 2) FTSE Mid Cap เข้า BEM / ออก ไม่มี 3) …

ตกลง LTF ลดภาษีได้อีกหรือไม่ ตามมติ ครม.

ครม.มีมติต่ออายุสิทธิประโยชน์ LTF ด้านภาษีอีก 3 ปี ———————————————————– นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้มีมติอนุมัติต่ออายุสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF)ไปอีก 3 ปี จนถึงสิ้นปี 2562 จากที่จะสิ้นสุดในปี 2559 และเมื่อสิ้นสุดในปี 2562 รัฐบาลจะไม่มีการขยายต่อให้อีกในปี 2563 แล้ว รวมทั้งเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการถือครอง LTF จากเดิมที่มีกำหนดเวลา 5 ปีปฏิทิน ไปเป็น 7 ปีปฏิทินด้วย “LTF ถือเป็นเงินก้อนโตที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งการขยาย(สิทธิประโยชน์ทางภาษี) ออกไปเรื่อยๆ อาจจะมีผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ ครม.ก็เลยให้จบแค่ปี 2562 และเมื่อถึงปี 2563 ก็จะไม่ได้แล้ว” ทั้งนี้ สาระสำคัญคือการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนใน LTF ซึ่งมีเพดานไม่เกิน 500,000 บาท ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี จากปัจจุบันยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวในลักษณะการให้หักลดหย่อนสำหรับการซื้อหน่วยลงทุนใน …

เศรษฐกิจและหุ้น จะรุ่งหรือร่วง

เมื่อวานนี้ ตัวเลข set ออกมาเป็นสีแดง หลายคนกำลังมองว่าเกิดอะไรขึ้น จะเกี่ยวกับเหตุแผ่นดินไหวหรือไม่ เพื่อเป็นการเพิ่มข้อมูลข่าวสารอีกช่องทางหนึ่ง ขอนำขอมูลจาก facebook คุณตู่ มาให้ทุกท่านอ่านเพื่อให้เงินงอกเงยกันนะครับ เศรษฐกิจและหุ้น จะรุ่งหรือร่วง ——————————– วรวรรณ ธาราภูมิ และทีมจัดการกองทุน บลจ.บัวหลวง 26 เมษายน 2558 แนวโน้มเศรษฐกิจโลก ———————– • เศรษฐกิจโลกจะถูก Drive ด้วย 4 ปัจจัยหลัก เหมือนไฮโล คือ Low Low High High (2L+ 2H) 1) Low Inflation หรือ เงินเฟ้อต่ำ 2) Low Growth หรือ เศรษฐกิจโลกเติบโตต่ำ 3) High Unemployment …

สถานการณ์ในตอนนี้เซียนหุ้นแนะ “wait & see”

ในยุคที่บ้านเมืองกำลังครูกรุ่นไปด้วยความแตกต่างทางความคิด ผู้ลงทุนรายใหญ่ รายย่อย และรายจิ๋ว ควรปรับตัวอย่างไร บางท่านบอกว่า ช่วงนี้แหละรีบเทขาย บางท่านบอกว่า ช่วงนี้แหละรีบซื้อช้อนขึ้นมา ทั้งในส่วนของผู้ลงทุนในหุ้น และผู้ลงทุนผ่านกองทุนรวม กรุงเทพธุรกิจ ได้เผยแพร่บทความหัวข้อเจ๋งๆ โดยมีเนื้อหาดังนี้ครับ 6 เดือนแรก “หยุดรอ” 6 เดือนหลัง “ออกตัว” เมื่อเหล่าผู้รู้เรื่องตลาดหุ้นส่งเสียงแนะนำ “แฟนพันธุ์แท้” หลังการเมืองร้อนแรง ตราบใดที่การเมืองยังวุ่นวายยืดเยื้อคงต้อง “ชัตดาวน์ตลาดหุ้นครึ่งปีแรก เพื่อรอรีสตาร์ครึ่งปีหลัง” ประโยคเด็ดของ 3 กูรูแวดวงตลาดหุ้น “ตู่-วรวรรณ ธาราภูมิ” “เปี๊ยก-มนตรี ศรไพศาล” และ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” เขาพร้อมใจกันประสานเสียงกลางวงเสวนา “ลงทุนอย่างไรหากวิกฤติไทยลากยาว” ที่มีเหล่านักลงทุนจับจองที่นั่งมากกว่าครึ่งของห้องประชุมสังเวียน ชั้น 3 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนหุ้นคุณค่าแนว VI เจ้าของพอร์ตลงทุนหลักพันล้านบาท บอกว่า …